ครูควรทบทวนความรู้เดิมของนักเรียนเกี่ยวกับการเกิดปฏิกิริยาเคมี โดยอาจยกตัวอย่าง
สถานการณ์เพื่อให้นักเรียนร่วมกันอภิปรายว่า
เหตุการณ์ต่อไปนี้มีปฏิกิริยาเคมีเกิดขึ้นหรือไม่
มีข้อสังเกตอย่างไร
เช่น
น้ำ�แข็งที่วางไว้ที่อุณหภูมิห้องเริ่มละลาย (หลอมเหลว)
กล้วยสุกที่วางไว้ 3 วัน เปลือกเริ่มมีสีดำ�
น้ำ�ตาลก้อนที่ละลายในกาแฟ
ผงฟูทำ�ให้ขนมเค้กขึ้นฟู
ไม้ขีดไฟลุกไหม้
จากการอภิปราย นักเรียนควรอธิบายได้ว่าการเกิดปฏิกิริยาเคมีเป็นการเปลี่ยนแปลงทางเคมี
ของสารทำ�ให้เกิดสารใหม่ที่มีสมบัติแตกต่างไปจากสารเดิม ซึ่งอาจสังเกตการเกิดปฏิกิริยาได้จากการ
เปลี่ยนแปลงของสีหรือกลิ่นที่ต่างไปจากสารเดิม การมีฟองแก๊สหรือตะกอนเกิดขึ้น หรือมีการเพิ่มหรือ
ลดของอุณหภูมิ
2.4.1 พลังงานกับการเกิดปฏิกิริยาเคมี
ครูเชื่อมโยงเข้าสู่เรื่องพลังงานกับการเกิดปฏิกิริยา อาจยกตัวอย่างปฏิกิริยาต่าง ๆ โดยเริ่มจาก
ตัวอย่างปฏิกิริยาเคมีในสภาพแวดล้อมภายนอกก่อนเพราะจะทำ�ให้นักเรียนเข้าใจได้ง่าย เช่น
- ปฏิกิริยาการแยกน้ำ�โดยใช้พลังงานไฟฟ้า โดยโมเลกุลของน้ำ�ที่ถูกแยกจะให้โมเลกุลของ
แก๊สไฮโดรเจนและแก๊สออกซิเจน ซึ่งนักเรียนได้เคยทดลองในชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น
- ปฏิกิริยาการเกิดน้ำ� โดยเมื่อให้ประกายไฟหรือความร้อนแก่โมเลกุลของแก๊สไฮโดรเจนและ
แก๊สออกซิเจน จะรวมตัวกันเกิดน้ำ�ขึ้น พร้อมทั้งเกิดการระเบิดขึ้นด้วย โดยอาจใช้ภาพ
ตัวอย่างในบทเรียน หรือแสดงวีดิทัศน์ซึ่งหาได้จากแหล่งเรียนรู้ออนไลน์ต่าง ๆ
จากตัวอย่างปฏิกิริยาการแยกน้ำ�และการเกิดน้ำ�ข้างต้น ครูอาจใช้คำ�ถามเพิ่มเติมเพื่อให้นักเรียน
สังเกตและอภิปรายว่า
มีพลังงานเกี่ยวข้องหรือไม่ อย่างไร
หลังจากอภิปรายจากตัวอย่างที่ครูให้นักเรียนศึกษาข้างต้น นักเรียนควรสรุปได้ว่าพลังงาน
เกี่ยวข้องกับการเกิดปฏิกิริยา ซึ่งมีทั้งปฏิกิริยาที่ดูดพลังงานและปฏิกิริยาที่คายพลังงาน จากนั้นครู
อธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับพลังงานเคมีซึ่งเป็นพลังงานศักย์ที่แฝงอยู่ในโครงสร้างของสาร และใช้รูป 2.36
ในหนังสือเรียนประกอบการอภิปรายเพื่อให้นักเรียนเปรียบเทียบพลังงานของสารตั้งต้นและพลังงาน
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 2 | เคมีที่เป็นพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต
ชีววิทยา เล่ม 1
113