ครูให้นักเรียนศึกษารูป 2.23 เพื่อสรุปให้ได้ว่า โปรตีนส่วนใหญ่ที่สามารถทำ�หน้าที่ได้ในสิ่งมีชีวิต
เป็นสายพอลิเพปไทด์ที่เกิดการพับม้วนเป็นโครงสร้างที่มีลักษณะ 3 มิติ ซึ่งเหมาะสมกับการทำ�งาน
โดยสามารถแบ่งโครงสร้างโปรตีนออกเป็น 4 ระดับ คือ โครงสร้างปฐมภูมิ โครงสร้างทุติยภูมิ โครงสร้าง
ตติยภูมิ และโครงสร้างจตุรภูมิ
ให้นักเรียนสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับบทบาทและหน้าที่ของโปรตีน ซึ่งควรเป็นดังนี้
1. ช่วยในการเจริญเติบโต
2. ช่วยในการลำ�เลียงสาร
3. ทำ�หน้าที่เป็นเอนไซม์เร่งปฏิกิริยาเคมีในเซลล์ของสิ่งมีชีวิต
4. เป็นโครงสร้างของเซลล์ เยื่อหุ้มเซลล์ เป็นองค์ประกอบของโครโมโซม
5. เป็นภูมิคุ้มกันของร่างกาย
6. เป็นฮอร์โมน
7. ช่วยในการเคลื่อนที่ เช่น แอกทิน ไมโอซิน
8. บทบาทอื่นๆ เช่น เป็นพิษงู พิษแมงมุม พิษตะขาบ
2.3.3 ลิพิด
ครูทบทวนความรู้เดิมโดยให้นักเรียนยกตัวอย่างอาหารที่เป็นแหล่งของสารอาหารประเภทลิพิด
และให้นักเรียนศึกษาภาพโครงสร้างของลิพิดแล้วร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับธาตุที่เป็นองค์ประกอบหลัก
ครูให้นักเรียนสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับโครงสร้างของลิพิด กรดไขมันอิ่มตัว กรดไขมันไม่อิ่มตัว
ไตรกลีเซอไรด์ กรดไขมันที่จำ�เป็นและกรดไขมันที่ไม่จำ�เป็น และความสำ�คัญของลิพิดที่มีต่อสิ่งมีชีวิต
แล้วนำ�มาอภิปราย เพื่อให้ได้ข้อสรุปว่า ลิพิดประกอบด้วยธาตุคาร์บอน ไฮโดรเจน และออกซิเจน เป็น
องค์ประกอบหลัก นอกจากนี้ลิพิดบางชนิดยังมีธาตุไนโตรเจนและฟอสฟอรัสเป็นองค์ประกอบ ลิพิดมี
โครงสร้างพื้นฐานทางเคมีที่หลากหลาย โดยกลุ่มของลิพิดที่สำ�คัญซึ่งพบในสิ่งมีชีวิต เช่น กรดไขมัน
ไตรกลีเซอไรด์ ฟอสโฟลิพิด สเตอรอยด์
จากนั้นให้นักเรียนศึกษารูป 2.24 เพื่อสรุปให้ได้ว่า กรดไขมัน เป็นสายไฮโดรคาร์บอนที่มี
หมู่คาร์บอกซิลเป็นหมู่ฟังก์ชันอยู่ที่ปลายด้านหนึ่ง โดยกรดไขมันแต่ละชนิดมีจำ�นวนคาร์บอน
ที่แตกต่างกันทำ�ให้มีสมบัติต่างกัน กรดไขมันอิ่มตัวมีคาร์บอนทุกอะตอมเชื่อมต่อกันด้วยพันธะเดี่ยว
ส่วนกรดไขมันไม่อิ่มตัวมีบางพันธะระหว่างอะตอมของคาร์บอนเป็นพันธะคู่
ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเกี่ยวกับโครงสร้างของไตรกลีเซอร์ไรด์และฟอสโฟลิพิด ดังนี้ ชนิด
ของไตรกลีเซอไรด์ขึ้นอยู่กับชนิดและโครงสร้างของกรดไขมันซึ่งอาจจะเป็นกรดไขมันอิ่มตัวหรือ
กรดไขมันไม่อิ่มตัวที่เหมือนหรือต่างกันก็ได้ ส่วนฟอสโฟลิพิดมีโครงสร้างประกอบด้วยกลีเซอรอล
1 โมเลกุล เชื่อมต่อกับกรดไขมัน 2 โมเลกุล หมู่ฟอสเฟต 1 หมู่ และหมู่ R
บทความสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 2 | เคมีที่เป็นพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต
ชีววิทยา เล่ม 1
108