ครูอาจกระตุ้นให้นักเรียนสนใจโครงสร้างของกรดนิวคลิอิก โดยการนำ�แบบจำ�ลองหรือภาพของ
DNA มาให้นักเรียนศึกษา เพื่อให้สังเกตลักษณะของโมเลกุลและส่วนที่เป็นหน่วยย่อยแต่ละหน่วย
หรือ นิวคลีโอไทด์ว่าประกอบด้วยส่วนย่อยอีกกี่ส่วน อะไรบ้าง จากนั้นจึงให้รู้จักชื่อของส่วนย่อยเหล่า
นั้น ซึ่งได้แก่ น้ำ�ตาลที่มีคาร์บอน 5 อะตอม เบสที่มีไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบ และหมู่ฟอสเฟต
ให้นักเรียนสังเกตสัญลักษณ์ที่ใช้แทนเบสว่ามีกี่แบบ เพื่อให้นักเรียนสามารถสรุปได้ว่า มีเบส 4 ชนิด
อยู่ในโมเลกุลของ DNA
ครูให้นักเรียนศึกษารูป 2.32 เพื่อให้สรุปได้ว่า โมเลกุลของ DNA ประกอบด้วยนิวคลีโอไทด์ที่
ต่อกันเป็นสายยาวด้วยพันธะฟอสโฟไดเอสเทอร์ เรียกแต่ละสายว่าพอลินิวคลีโอไทด์ซึ่งเป็นพอลิเมอร์
สายพอลินิวคลีโอไทด์มีปลายด้านหนึ่งเรียกว่า ปลาย 5′ และอีกด้านหนึ่งเรียกว่า ปลาย 3′
นักเรียนศึกษารูป 2.33 เพื่อสรุปได้ว่าโมเลกุลของ DNA ประกอบด้วยพอลินิวคลีโอไทด์ 2 สาย
บิดเป็นเกลียวคล้ายบันไดเวียนขวา โดยเบสอะดีนีนจับกับเบสไทมีน และเบสไซโทซีนจับกับ
เบสกวานีน
จากนั้นครูให้นักเรียนสังเกตโครงสร้างของ RNA จากรูป 2.32 แล้วใช้คำ�ถามเพิ่มเติมดังนี้
โครงสร้างของ RNA มีลักษณะเหมือนหรือแตกต่างจากโมเลกุลของ DNA อย่างไร
นักเรียนควรสรุปได้ว่า โมเลกุลของ RNA ประกอบด้วยพอลินิวคลีโอไทด์เพียง 1 สาย โดย
มีเบส 4 ชนิด คือ ไซโทซีน กวานีน อะดีนีน และยูราซิล นอกจากนี้ยังประกอบด้วยน้ำ�ตาล
ไรโบส ซึ่งคาร์บอนตำ�แหน่งที่ 2 มีหมู่ไฮดรอกซิล
ในหัวข้อนี้อาจยังไม่ต้องให้ความรู้เกี่ยวกับรายละเอียดของโครงสร้าง ชนิดและหน้าที่ของ DNA
และ RNA เพราะจะได้ศึกษาในเนื้อหาเรื่องพันธุศาสตร์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 2 | เคมีที่เป็นพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต
ชีววิทยา เล่ม 1
110