Table of Contents Table of Contents
Previous Page  126 / 284 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 126 / 284 Next Page
Page Background

ของสารผลิตภัณฑ์ และบอกความหมายของปฏิกิริยาดูดพลังงานและปฏิกิริยาคายพลังงานได้ จากนั้น

เพื่อนำ�เข้าสู่การอภิปรายเกี่ยวกับพลังงานกระตุ้น ครูอาจตั้งคำ�ถาม ดังนี้

จากรูป 2.36 นักเรียนคิดว่าในการเกิดปฏิกิริยาทั้งที่เป็นปฏิกิริยาดูดพลังงานและปฏิกิริยา

คายพลังงานมีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นได้เองหรือไม่

ปฏิกิริยาดูดพลังงานและปฏิกิริยาคายพลังงานที่นักเรียนรู้จักมีปฏิกิริยาใดบ้าง

ปฏิกิริยาการเกิดน้ำ� หรือปฏิกิริยาการเผาไหม้เชื้อเพลิงของเครื่องยนต์ ซึ่งต่างเป็นปฏิกิริยา

คายพลังงาน จะเกิดปฏิกิริยาขึ้นได้เมื่ออยู่ในสภาวะแบบใด และคิดว่าเพราะเหตุใด

จากการอภิปรายข้างต้น นักเรียนอาจมีคำ�ตอบที่หลากหลายตามประสบการณ์ของแต่ละคน

โดยครูให้นักเรียนศึกษาจากรูป 2.37 ในหนังสือเรียนและอภิปรายร่วมกับนักเรียนเกี่ยวกับการเกิด

ปฏิกิริยานั้นเกี่ยวข้องกับการสลายพันธะของสารตั้งต้นซึ่งต้องใช้พลังงาน และเมื่อสร้างพันธะใหม่ของ

สารผลิตภัณฑ์จะมีพลังงานที่ถูกคายออกมา จากนั้นครูอธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับพลังงานกระตุ้นของ

ปฏิกิริยาว่าคือพลังงานเริ่มต้นที่สารตั้งต้นต้องการเพื่อใช้ในการสลายพันธะ ซึ่งระหว่างการสลายพันธะ

ของสารตั้งต้นและสร้างพันธะของสารผลิตภัณฑ์ สารตั้งต้นจะอยู่ในสภาวะที่มีโครงสร้างระหว่าง

สารตั้งต้นและสารผลิตภัณฑ์ (transition state) ซึ่งสารดังกล่าวนี้อยู่ในสภาวะที่ไม่เสถียรและมี

พลังงานสูงมาก และสารนี้พร้อมที่จะสลายและเกิดเป็นสารผลิตภัณฑ์ที่มีความเสถียรมากขึ้นและ

มีพลังงานต่ำ�ลงดังรูป

พลังงานกระตุ้น

พลังงาน

สารผลิตภัณฑ์

พลังงาน

ที่คายออกมา

การดำ�เนินไปของปฏิกิริยา

สารตั้งต้น

transition state

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

บทที่ 2 | เคมีที่เป็นพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต

ชีววิทยา เล่ม 1

114