Table of Contents Table of Contents
Previous Page  135 / 284 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 135 / 284 Next Page
Page Background

จากนั้นครูอาจให้นักเรียนตอบคำ�ถามในหนังสือเรียน เพื่อตรวจสอบความเข้าใจของนักเรียนที่

ได้เรียนรู้มา ซึ่งมีแนวคำ�ตอบ ดังนี้

เอนไซม์ช่วยลดพลังงานกระตุ้นได้อย่างไร

การทำ�งานของเอนไซม์เกิดจากการที่สารตั้งต้นเข้ามาจับที่บริเวณเร่ง ทำ�ให้มีโครงสร้าง

และสภาวะเหมาะสมที่จะเกิดการเปลี่ยนแปลงพันธะเคมีของสารตั้งต้นได้เป็น

สารผลิตภัณฑ์ ดังนั้นการทำ�งานของเอนไซม์จึงสามารถลดพลังงานกระตุ้นของปฏิกิริยา

ลงได้

ในขณะเกิดปฏิกิริยาเคมีสารตั้งต้นจะเปลี่ยนไปเป็นสารผลิตภัณฑ์ หลังเกิดปฏิกิริยา

เอนไซม์จะมีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่

หลังเกิดปฏิกิริยา โครงสร้างของเอนไซม์ไม่มีการเปลี่ยนแปลง และยังสามารถกลับมาเร่ง

ปฏิกิริยาได้ใหม่

หากอัตราการเกิดปฏิกิริยาถึงระดับคงที่ เนื่องจากเอนไซม์ถึงจุดอิ่มตัวแล้วนั้น ในเซลล์

ของสิ่งมีชีวิตจะมีวิธีใดที่จะสามารถทำ�ให้อัตราการเกิดปฏิกิริยาเพิ่มขึ้นได้

ในกรณีนี้ เอนไซม์เป็นปัจจัยจำ�กัด การที่จะทำ�ให้อัตราการเกิดปฏิกิริยาเพิ่มขึ้นได้ คือ

ต้องเพิ่มปริมาณของเอนไซม์ ซึ่งในเซลล์ของสิ่งมีชีวิตนั้นก็มีกลไกในการควบคุม

การสังเคราะห์เอนไซม์ โดยหากเซลล์ต้องการให้อัตราการเกิดปฏิกิริยาเพิ่มขึ้น ก็จะมี

การควบคุมให้มีการสังเคราะห์เอนไซม์เพิ่มขึ้นได้

เฉลยตรวจสอบความเข้าใจ

นอกจากนี้ครูอธิบายเพิ่มเติมให้นักเรียนเข้าใจเกี่ยวกับโคเอนไซม์และโคแฟกเตอร์ ซึ่งมี

ความจำ�เป็นต่อการทำ�งานของเอนไซม์บางชนิดจากรูป 2.43 รวมถึงการยับยั้งการทำ�งานของเอนไซม์

บางชนิดด้วยตัวยับยั้งเอนไซม์ โดยครูอาจให้นักเรียนศึกษาการทำ�งานของตัวยับยั้งเอนไซม์จาก

รูป 2.44 แล้วให้นักเรียนให้เหตุผลว่า

ตัวยับยั้งเอนไซม์แต่ละแบบมีผลต่อการทำ�งานของเอนไซม์

อย่างไร เพราะเหตุใดจึงทำ�ให้ไม่เกิดปฏิกิริยาขึ้น

แล้วตอบคำ�ถามในหนังสือเรียน ซึ่งมีแนว

ในการตอบ ดังนี้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

บทที่ 2 | เคมีที่เป็นพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต

ชีววิทยา เล่ม 1

123