Table of Contents Table of Contents
Previous Page  142 / 284 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 142 / 284 Next Page
Page Background

หลังจากทำ�กิจกรรม 2.3 แล้ว ครูอาจใช้คำ�ถามว่า เพราะเหตุใดเอนไซม์คะตะเลสจึงไม่สามารถ

ทำ�งานได้เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ หรือค่า pH เพื่อให้นักเรียนสืบค้นข้อมูลและอภิปราย

ร่วมกันซึ่งนักเรียนควรได้ข้อสรุปว่าเอนไซม์แต่ละชนิดจะทำ�งานได้ดีที่ช่วงอุณหภูมิและ pHที่เหมาะสม

หนึ่ง ๆ โดยหากเพิ่มอุณหภูมิจนสูงเกินกว่าอุณหภูมิที่เหมาะสมจะทำ�ให้เอนไซม์เสียสภาพ หรือหาก

ทำ�ให้เอนไซม์อยู่ในสภาพที่ pH ไม่เหมาะสม จะทำ�ให้ประจุของกรดแอมิโนของเอนไซม์ หรือ

แรงยึดเหนี่ยวภายในโครงสร้างของเอนไซม์เปลี่ยนแปลงไป และส่งผลต่อโครงสร้างและสภาวะภายใน

บริเวณเร่งของเอนไซม์ การทำ�งานของเอนไซม์จึงลดลง

จากนั้นครูให้นักเรียนตอบคำ�ถามท้ายกิจกรรม 2.3 และอาจให้ทำ�กิจกรรมเสนอแนะ เรื่อง

ตัวอย่างการนำ�เอนไซม์ไปใช้ประโยชน์

ในการทดลองตอนที่ 1 และ ตอนที่ 2 ตัวแปรต้น ตัวแปรตาม และตัวแปรควบคุม คืออะไร

ตัวแปรต้น คือ อุณหภูมิ และ pH ตัวแปรตาม คือ ปริมาณฟองแก๊สที่เกิดขึ้น และตัวแปร

ควบคุม คือ ปริมาณของยีสต์ ขนาดของหลอดทดลอง และปริมาณสารละลาย H

2

O

2

หากต้องการให้ผลการทดลองจากการทดลองตอนที่ 1 และ 2 นี้น่าเชื่อถือยิ่งขึ้น จะมีวิธีการ

อย่างไร

คำ�ตอบอาจมีได้หลายคำ�ตอบ เช่น

- ควบคุมความสะอาดของอุปกรณ์ที่ใช้ทดลองทุกชนิดไม่ให้มีการปนเปื้อน

- ควรจะทำ�การทดลองชุดละ 3 ซ้ำ� เพื่อป้องกันความคลาดเคลื่อน

- ควรมีการเก็บแก๊สโดยการแทนที่น้ำ� เพื่อจะได้ปริมาณแก๊สที่ชัดเจนการทดลองจะ

ได้มีความน่าเชื่อถือในทางวิทยาศาสตร์มากยิ่งขึ้น

จากการทดลอง คะตะเลสจะทำ�งานได้ดีในช่วงอุณหภูมิและ pH เท่าใด

จากการทดลองคะตะเลสสามารถทำ�งานได้ดีในช่วงอุณหภูมิห้อง และในช่วงประมาณ

pH 6-7

เฉลยคำ�ถามท้ายกิจกรรม

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

บทที่ 2 | เคมีที่เป็นพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต

ชีววิทยา เล่ม 1

130