Table of Contents Table of Contents
Previous Page  146 / 284 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 146 / 284 Next Page
Page Background

จากข้อมูลข้างต้น ลำ�ดับของการเกิดสารในปฏิกิริยาเป็นอย่างไร

แนวการคิด

เมื่อเติมตัวยับยั้งเอนไซม์ E

2

ทั้งสาร B และ C มีปริมาณลดลง เมื่อเทียบกับก่อนเติมตัวยับยั้ง

เอนไซม์ ดังนั้นเอนไซม์ E

2

จึงเป็นเอนไซม์ในปฏิกิริยาขั้นตอนแรกของวิถีนี้

เมื่อเติมตัวยับยั้งเอนไซม์ E

1

ปริมาณของสาร B ลดลง ส่วนสาร C มีปริมาณสะสมเพิ่มมากขึ้น

เมื่อเทียบกับก่อนเติมตัวยับยั้งเอนไซม์ ดังนั้นเอนไซม์ E

1

จึงเป็นเอนไซม์ที่เร่งปฏิกิริยาในขั้น

ตอนการเปลี่ยนแปลงของสาร C เป็นสารฺ B ซึ่งจะต้องเป็นปฏิกิริยาขั้นตอนที่สองของวิถีนี้

เมื่อเติมตัวยับยั้งเอนไซม์ E

3

ปริมาณของสาร B สะสมเพิ่มมากขึ้น ส่วนสาร C มีปริมาณเพิ่มขึ้น

จากเดิมเล็กน้อย เมื่อเทียบกับก่อนเติมตัวยับยั้งเอนไซม์ ดังนั้นเอนไซม์ E

3

จึงเป็นเอนไซม์

ในปฏิกิริยาขั้นตอนสุดท้ายของวิถีนี้

ถ้าตัวยับยั้งเอนไซม์ E

2

เป็นตัวยับยั้งแบบแข่งขัน เมื่อเพิ่มปริมาณของสาร A ซึ่งเป็น

สารตั้งต้นในวิถีนี้ จะพบว่าปริมาณของสาร D มีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร

เนื่องจากตัวยับยั้งเอนไซม์แบบแข่งขันจะแย่งจับกับบริเวณเร่งของเอนไซม์ การเพิ่มปริมาณ

ของสารตั้งต้นจะเพิ่มโอกาสในการแย่งจับกับเอนไซม์ได้มากขึ้น จึงลดผลของการยับยั้งลง

ได้ ดังนั้นการเพิ่มปริมาณของสาร A ให้มากขึ้น จึงลดผลของตัวยับยั้งเอนไซม์ E

2

ซึ่งยับยั้ง

ในขั้นที่สาร A เปลี่ยนเป็นสาร C ได้ ทำ�ให้ปริมาณของสาร C เพิ่มขึ้น และทำ�ให้ปฏิกิริยา

ในขั้นตอนต่างๆ ในวิถีเกิดขึ้นได้ตามปกติจนส่งผลให้มีปริมาณของสารD เพิ่มมากขึ้นในที่สุด

ความเข้มข้น

B C

ความเข้มข้น

B C

ความเข้มข้น

B C

ความเข้มข้น

B C

ก่อนเติมตัวยับยั้งเอนไซม์

การทดลองชุดที่ 1

การทดลองชุดที่ 2

การทดลองชุดที่ 3

การทดลองชุดที่ 4

หลังเติมตัวยับยั้งเอนไซม์ E

1

หลังเติมตัวยับยั้งเอนไซม์ E

2

หลังเติมตัวยับยั้งเอนไซม์ E

3

A

C

B

D

E

2

E

1

E

3

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

บทที่ 2 | เคมีที่เป็นพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต

ชีววิทยา เล่ม 1

134