Table of Contents Table of Contents
Previous Page  22 / 284 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 22 / 284 Next Page
Page Background

มีกระบวนการเมแทบอลิซึม

(metabolic process)

ครูนำ�เข้าสู่บทเรียน โดยอาจใช้ข้อมูลจากการทดลอง เช่น รูปแสดงการเจริญเติบโตของพืชใน

ที่ที่มีแสงสว่างเปรียบเทียบกับบริเวณที่ไม่มีแสง ข่าวเกี่ยวกับภาวะทุพโภชนาการ เช่น รูปเด็กขาด

สารอาหารโปรตีนจนผอมโซ รูปคนเป็นโรคคอพอกเนื่องจากขาดธาตุไอโอดีน เป็นต้น เพื่อจูงใจให้นักเรียน

ทราบว่า สิ่งมีชีวิตจะดำ�รงชีวิตอยู่ได้ต้องอาศัยสารอาหารและพลังงาน จากนั้นให้นักเรียนร่วมกัน

อภิปรายเกี่ยวกับ ความสำ�คัญของพลังงานต่อสิ่งมีชีวิต แหล่งกำ�เนิดของพลังงาน การถ่ายทอดพลังงาน

ในสิ่งมีชีวิต ความสัมพันธ์ระหว่างสารอาหารกับพลังงาน ประโยชน์ของอาหาร และความหมายของ

เมแทบอลิซึมซึ่งจากการอภิปรายควรจะสรุปได้ว่า พลังงานมีความสำ�คัญต่อสิ่งมีชีวิต โดยพืชได้พลังงาน

จากการเปลี่ยนพลังงานแสงเป็นพลังงานเคมีในรูปของสารอาหาร คือ คาร์โบไฮเดรต ซึ่งพืชสามารถ

นำ�ไปใช้ในการสังเคราะห์สารอาหารอื่นๆ ได้ เช่น โปรตีน ลิพิด ทั้งนี้สัตว์และมนุษย์จะไม่สามารถสร้าง

อาหารได้เองแต่จะได้พลังงานจากการกินพืชหรือกินสัตว์อีกต่อหนึ่ง ในร่างกายสิ่งมีชีวิตจะมี

กระบวนการเปลี่ยนสารอาหารเพื่อให้ได้พลังงาน ซึ่งพลังงานนี้จะนำ�ไปใช้ในกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อการ

ดำ�รงชีวิต ภายในเซลล์มีปฏิกิริยามากมายเพื่อสลายสารและสังเคราะห์สาร ปฏิกิริยาเคมีเหล่านี้ต้องใช้

พลังงานทั้งสิ้น ปฏิกิริยาเคมีต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในเซลล์นี้ เรียกว่า เมแทบอลิซึม ในขณะเดียวกันสิ่งมีชีวิต

ต้องมีการกำ�จัดของเสียออกจากร่างกายด้วย

นอกจากนี้ครูเชื่อมโยงหัวข้อนี้กับวิชาฟิสิกส์ โดยให้นักเรียนทบทวนกฎการอนุรักษ์พลังงาน ซึ่ง

กล่าวไว้ว่าพลังงานไม่สูญหายไปไหนแต่สามารถเปลี่ยนรูปพลังงานได้ และสามารถสรุปได้ว่าพลังงาน

แสงถูกพืชสีเขียวเปลี่ยนรูปให้เป็นพลังงานเคมี พลังงานเคมีเปลี่ยนรูปเป็นพลังงานต่าง ๆ เช่น

พลังงานกลทำ�ให้เกิดการเคลื่อนไหวต่าง ๆ

 มีกระบวนการสืบพันธุ์และเจริญเติบโต

(generative process)

ครูอาจหารูปของสัตว์ที่มีทั้งพ่อ แม่ และลูก หรือรูปอื่นๆ เช่น รูปการแตกหน่อของต้นกล้วย

รูปการแตกหน่อของแหน หรือรูปของแมงดาทะเลที่มารวมตัวกันในฤดูสืบพันธุ์เพื่อนำ�เข้าสู่หัวข้อนี้

ครูให้นักเรียนที่เคยเลี้ยงปลาหางนกยูง มาเล่าถึงวิธีการเลี้ยงและการเพิ่มจำ�นวนของลูกปลา

เพื่อเพิ่มบรรยากาศให้น่าเรียนและปลูกฝังกระบวนการเรียนรู้และความเมตตาต่อสัตว์ทำ�ให้นักเรียน

มีจิตใจอ่อนโยน จากนั้นจึงให้นักเรียนสรุปเกี่ยวกับความหมายของการสืบพันธุ์และอภิปรายเกี่ยวกับ

ประเภทของการสืบพันธุ์ที่พบในปลาหางนกยูงและแหน อภิปรายความสำ�คัญของการสืบพันธุ์ และ

การที่สิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดมีรูปร่างลักษณะคล้ายคลึงกัน จากนั้นจึงให้นักเรียนทำ�กิจกรรม 1.1 เรื่องการ

งอกใหม่

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

บทที่ 1 | การศึกษาชีววิทยา

ชีววิทยา เล่ม 1

10