จากสถานการณ์ที่ยกตัวอย่าง ครูอาจตั้งคำ�ถามได้ดังนี้
แมลงเม่าและมดตอบสนองต่อสิ่งเร้าได้หรือไม่
สิ่งเร้าจากสถานการณ์นี้คืออะไร
นอกจากแมลงเม่าและมดแล้ว สัตว์อื่นมีการตอบสนองต่อสิ่งเร้าได้หรือไม่ และสิ่งเร้า
นั้นคืออะไร
นอกจากสัตว์แล้ว พืชสามารถตอบสนองต่อสิ่งเร้าได้หรือไม่ และสิ่งเร้านั้นคืออะไร
จากคำ�ถามดังกล่าวนักเรียนจะนำ�ประสบการณ์ที่ตนเคยพบเห็นมาเล่าสู่กันฟัง ทำ�ให้นักเรียนมี
ความรู้กว้างขวางยิ่งขึ้น
ครูควรให้ความรู้เพิ่มเติมว่าสิ่งเร้ามีทั้งสิ่งเร้าภายในร่างกายและสิ่งเร้าภายนอกร่างกาย จากนั้น
ให้นักเรียนตอบคำ�ถามในหนังสือเรียน ซึ่งมีแนวคำ�ตอบดังนี้
สิ่งแวดล้อมภายนอกและสิ่งแวดล้อมภายในที่เป็นสิ่งเร้าของสิ่งมีชีวิตมีอะไรบ้าง
สิ่งแวดล้อมภายนอกที่เป็นสิ่งเร้า เช่น แสง เสียง อุณหภูมิ กระแสลม ความชื้น แรงโน้มถ่วง
ธาตุอาหารของพืช พื้นที่ที่อาศัย เป็นต้น
สิ่งแวดล้อมภายในที่เป็นสิ่งเร้า เช่น ความเครียด ความหิว ระดับของฮอร์โมน ระดับของน้ำ�ตาล
และระดับของน้ำ�ในเลือด เป็นต้น
การพัฒนาของระบบประสาทของสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดมีความสัมพันธ์กับการตอบสนองต่อ
สิ่งเร้าของสิ่งมีชีวิตนั้นๆ อย่างไร
มีความสัมพันธ์กันมาก ถ้าระบบประสาทมีการพัฒนาต่ำ� การตอบสนองต่อสิ่งเร้าก็จะเป็นไป
อย่างง่ายๆ ถ้าระบบประสาทมีการพัฒนามากขึ้น จะมีการตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่ซับซ้อนขึ้น
จากการอภิปรายที่ผ่านมานักเรียนควรสรุปได้ว่า สิ่งมีชีวิตมีการตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อ
หาอาหาร และหลบหลีกภัยหรือศัตรู ทั้งนี้เพื่อให้นักเรียนมีความเข้าใจมากยิ่งขึ้นเกี่ยวกับการตอบสนอง
ของสิ่งมีชีวิต ครูให้นักเรียนทำ�กิจกรรม 1.2 เรื่องการตอบสนองต่อสิ่งเร้าของไส้เดือนดิน
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 1 | การศึกษาชีววิทยา
ชีววิทยา เล่ม 1
14