ตัวแปรที่ควบคุม: ปริมาณอาหาร ชนิดและขนาดของมด ระยะทาง ภาชนะที่ใส่ อุณหภูมิ
การออกแบบการทดลอง
1. นำ�กล่องพลาสติกใสทรงกลมขนาดใหญ่ 1 กล่อง แบ่งช่องต่าง ๆ ภายในกล่องตามชนิดของ
อาหาร แล้วนำ�อาหารชนิดต่าง ๆ ไปใส่ไว้ในแต่ละช่องตามขอบกล่อง
2. นำ�มด 1 ตัว ไปวางไว้กลางกล่อง จับเวลา และสังเกตการเคลื่อนที่เข้าหาอาหาร
3. ชุดควบคุมคือ เหมือนข้อ 1 แต่ไม่ใส่อาหาร
ตัวอย่างที่ 2
การตอบสนองต่อสิ่งเร้าของพืช
ปัญหา:
เสียงเพลงมีผลต่อการเจริญเติบโตของต้นฟักทองหรือไม่
สมมติฐาน:
ถ้าเสียงเพลงมีผลต่อการเจริญเติบโตของต้นฟักทอง ดังนั้นต้นฟักทองที่
ได้รับเสียงเพลงจะเจริญเติบโตดีกว่าต้นฟักทองที่ไม่ได้รับเสียงเพลง
ตัวแปรต้น:
เสียงเพลง
ตัวแปรตาม:
การเจริญเติบโตของต้นฟักทอง
ตัวแปรที่ควบคุม: พันธุ์ของต้นฟักทอง จำ�นวนต้น อายุของต้นกล้า ปริมาณแสง อุณหภูมิ
ปุ๋ย ปริมาณน้ำ�
การออกแบบการทดลอง
1. แบ่งต้นฟักทองเป็น 2 ชุด ชุดละ 10 ต้น ปลูกในสภาพแวดล้อมเดียวกัน
2. ชุดที่ 1 เป็นชุดควบคุม ไม่ได้เปิดเพลงให้ฟัง
3. ชุดที่ 2 เป็นชุดทดลอง เปิดเพลงให้ฟังวันละ 6 ชั่วโมง
4. สังเกตการเจริญเติบโต โดยนับจำ�นวนใบ วัดความยาวของลำ�ต้น และความอวบของ
โคนลำ�ต้น บันทึกผลเป็นเวลาประมาณ 1 เดือน หาค่าเฉลี่ยของแต่ละชุด
จากนั้นนำ�ผลการทดลองมานำ�เสนอในชั้นเรียน แล้วให้นักเรียนวิเคราะห์ว่าการทดลองของ
เพื่อนๆ ที่นำ�เสนอ ปัจจัยใดที่น่ามีผลต่อการทดลอง ซึ่งอาจจะทำ�ให้ผลการทดลองคลาดเคลื่อน
ได้ ควรจะปรับปรุงการทดลองอย่างไร และมีตัวแปรใดที่ควรจะศึกษาเพิ่มเติมอีกครั้ง ต่อจาก
นั้นให้นักเรียนตอบคำ�ถามท้ายกิจกรรม
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 1 | การศึกษาชีววิทยา
ชีววิทยา เล่ม 1
17