Table of Contents Table of Contents
Previous Page  25 / 284 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 25 / 284 Next Page
Page Background

1. มีการเพิ่มจำ�นวน (cell division)

2. มีการเจริญเติบโต เช่น มีการเพิ่มขนาดของเซลล์ และขนาดของร่างกาย

3. มีการเปลี่ยนแปลงเพื่อทำ�หน้าที่เฉพาะอย่าง (differentiation) ทำ�ให้มีรูปร่างของอวัยวะ

และรูปร่างของร่างกายเป็นลักษณะเฉพาะของสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิด

ครูอาจให้นักเรียนศึกษาวัฏจักรชีวิตของผีเสื้อไหม และสืบค้นข้อมูลเพิ่มเติมจากหนังสือเรียน

และแหล่งเรียนรู้อื่นๆ เกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตชนิดต่างๆ ที่มีการเปลี่ยนแปลงรูปร่าง (metamorphosis) หลัง

จากฟักจากไข่

การสอนหัวข้ออายุขัย ครูควรให้นักเรียนอภิปรายเกี่ยวกับความหมายของอายุขัย และศึกษา

ข้อมูลอายุขัยของสิ่งมีชีวิตชนิดต่างๆ จากตาราง 1.1 แล้วตอบคำ�ถาม ซึ่งมีแนวในการตอบคำ�ถามดังนี้

จากตาราง 1.1 นักเรียนสรุปได้ว่าอย่างไร

สิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดมีอายุขัยต่างกัน

สัตว์ชนิดใดมีอายุขัยสั้น และสัตว์ชนิดใดมีอายุขัยยาวกว่าสัตว์อื่นๆ

สัตว์ที่มีอายุขัยสั้น ได้แก่ หนูมีอายุ 3 ปี และสัตว์ที่มีอายุขัยยาวนาน ได้แก่ เต่ากาลาปากอส

ซึ่งมีอายุตั้งแต่ 152 ปีขึ้นไป และคนบางคนมีอายุได้ถึง 120 ปี

จากนั้นให้นักเรียนอภิปรายเกี่ยวกับอายุขัยของพืชและการจำ�แนกพืชตามช่วงอายุต่างๆ พร้อม

ทั้งยกตัวอย่างพืชในท้องถิ่นจากประสบการณ์และการสืบค้นข้อมูลของนักเรียน

การสอนหัวข้อขนาดของสิ่งมีชีวิต ครูควรให้นักเรียนเปรียบเทียบขนาดร่างกายของสัตว์ที่โต

เต็มที่จากรูป 1.2 และจากตัวอย่างของจริงที่นักเรียนคุ้นเคย เช่น หนู กระต่าย ม้า ซึ่งเมื่อโตเต็มที่แล้ว

หนูจะมีขนาดเล็กกว่ากระต่าย และกระต่ายจะขนาดเล็กกว่าม้า ถึงแม้สัตว์ที่มีลักษณะเหมือนกันมาก

เช่น แมวกับเสือ แมวจะมีขนาดเล็กกว่าเสือ ในพืช เช่น ต้นข้าวจะมีขนาดเล็กกว่าต้นอ้อย และต้นอ้อย

จะมีขนาดเล็กกว่าต้นไผ่ เป็นต้น จากตัวอย่างนักเรียนควรสรุปได้ว่าสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดมีขนาดจำ�กัด

จากนั้นให้นักเรียนอภิปรายเกี่ยวกับขนาดของ ลำ�ต้นพืช และการจำ�แนกพืชตามความสูง

มีกระบวนการการตอบสนองสิ่งเร้า

(responsive process)

ครูอาจให้นักเรียนศึกษาจากของจริงในสภาพแวดล้อมรอบโรงเรียนหรือยกตัวอย่างจาก

สถานการณ์จริง ๆ ที่นักเรียนคุ้นเคย เช่น แมลงเม่า (ตัวเต็มวัยของปลวก) จะบินเข้าหาดวงไฟ แต่ถ้า

ดับไฟ แมลงเม่าก็จะบินหนีไปหมด หรือมดที่เดินตามกันไปยังแหล่งอาหารเพื่อขนอาหารกลับเข้าสู่รัง

แต่ถ้าเอาอาหารนั้นออกไป มดก็จะเดินกลับรังตามปกติ

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

บทที่ 1 | การศึกษาชีววิทยา

ชีววิทยา เล่ม 1

13