หมายเหตุ
1. ในระหว่างการทดลองเพื่อป้องกันไม่ให้ผิวหนังของไส้เดือนดินแห้ง ต้องใช้น้ำ�ชุบบริเวณ
ผิวหนังของไส้เดือนดินเป็นระยะๆ โดยอาจจะใช้กระดาษเยื่อหรือสำ�ลีชุบน้ำ�ก็ได้
2. ถ้าใช้สำ�ลีเปล่าไส้เดือนดินจะเคลื่อนที่ผ่านไปบนสำ�ลีโดยไม่อ้อมผ่าน แต่ถ้าเป็นแอมโมเนีย
และน้ำ�ส้มสายชูไส้เดือนดินจะเคลื่อนที่หนีไปอีกด้านหนึ่ง
3. การตอบสนองของไส้เดือนดินต่อแอมโมเนียจะใช้เวลาเร็วกว่าน้ำ�ส้มสายชู
4. ในการทดลองนี้ใช้แสงจากไฟฉาย แต่ถ้าใช้โคมไฟไส้เดือนดินจะเคลื่อนที่หนีความร้อนไป
อยู่ด้านที่ไม่มีความร้อน
1. ให้นักเรียนเลือกสิ่งมีชีวิตที่สนใจจะศึกษามาอย่างน้อย 1 ชนิด แล้วออกแบบการทดลอง
เพื่อศึกษาดูว่าสิ่งมีชีวิตนั้น ๆ สามารถตอบสนองต่อสิ่งเร้า เช่น อุณหภูมิ สี สารเคมี
อาหาร ฯลฯ
2. ดำ�เนินการทดลองและบันทึกผล แล้วนำ�ผลการทดลองมาเสนอและอภิปรายในชั้นเรียน
ในกิจกรรมลองทำ�ดูนั้น ครูควรให้นักเรียนแต่ละกลุ่มกำ�หนดชนิดของสิ่งเร้าและเลือกชนิด
ของพืชหรือสัตว์ที่จะศึกษา โดยไม่ให้ซ้ำ�กับกลุ่มอื่นๆ ให้นักเรียนศึกษาข้อมูลจากแหล่งเรียนรู้
ต่างๆออกแบบการทดลองและนำ�เสนอหน้าชั้นเรียนแล้วให้เพื่อนนักเรียนร่วมแสดงความคิดเห็น
ครูควรแนะนำ�นักเรียนให้กำ�หนดปัญหาที่จะศึกษาให้ชัดเจน ทบทวนเกี่ยวกับการตั้งสมมติฐาน
การกำ�หนดตัวแปรต้น ตัวแปรตาม และตัวแปรที่ควบคุม ทั้งนี้เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ชัดเจนและ
น่าเชื่อถือ ซึ่งจะนำ�ไปสู่ข้อสรุปที่สมเหตุสมผล
ซึ่งตัวอย่างการออกแบบการทดลองมีดังนี้
ตัวอย่างที่
1 การตอบสนองต่อสิ่งเร้าของสัตว์
ปัญหา:
ชนิดของอาหารมีผลต่อการเข้าหาอาหารของมดหรือไม่
สมมติฐาน:
ถ้าชนิดของอาหารมีผลต่อการเข้าหาอาหารของมด ดังนั้นหากใช้น้ำ�ตาล
เป็นอาหาร มดจะมีการเคลื่อนที่เข้าหาได้เร็วกว่าอาหารชนิดอื่น
ตัวแปรต้น:
อาหารชนิดต่าง ๆ เช่น น้ำ�ตาล เนื้อสัตว์ ข้าว ผลไม้
ตัวแปรตาม:
ระยะเวลาในการเคลื่อนที่เข้าหาอาหารของมด
ลองทำ�ดู
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 1 | การศึกษาชีววิทยา
ชีววิทยา เล่ม 1
16