ข้อเสนอแนะสำ�หรับครู
การเลือกดอกกุยช่ายมาทำ�กิจกรรมให้เลือกดอกที่มีขนาดปานกลาง ฉีกเยื่อบางๆ ที่หุ้มดอก
กุยช่ายออกและเขี่ยส่วนต่าง ๆ ทิ้งไปให้เหลือไว้แต่อับเรณูซึ่งมีลักษณะเป็นแท่งสั้นๆ สีเหลือง
อ่อนหรือครีม นำ�มาบดขยี้ให้แหลกแล้วจึงย้อมสี ถ้าเป็นสีย้อมที่เพิ่งเตรียมใหม่ๆ อาจไม่จำ�เป็น
ต้องลนไฟก็เห็นระยะต่าง ๆ ได้ดี สามารถเลือกขนาดของดอกให้เหมาะสมกับการศึกษาการ
แบ่งเซลล์ นอกจากนี้ช่วงเวลาและอุณหภูมิก็มีผลกับการแบ่งเซลล์ด้วยซึ่งขึ้นอยู่กับชนิดของพืช
สำ�หรับดอกกุยช่ายหากตรวจสอบแล้วพบว่าเซลล์อยู่ในระยะอินเตอร์เฟสให้เตรียมใหม่โดยเลือก
ดอกที่มีขนาดใหญ่ขึ้น หรือหากพบแต่เรณูให้เตรียมใหม่โดยเลือกดอกที่มีขนาดเล็กลงเพื่อให้
เห็นระยะอื่นๆ
เพื่อที่จะให้เห็นโครโมโซมได้ชัดเจน ครูควรแนะนำ�ให้นักเรียนใช้ยางลบก้นดินสอกดเนื้อเยื่อ
เพื่อให้เซลล์หลุดกระจาย นอกจากนี้ในขณะที่นักเรียนกำ�ลังทำ�กิจกรรมครูควรสังเกตนักเรียน
ในเรื่องการใช้กล้องจุลทรรศน์และการเตรียมสไลด์ไปพร้อม ๆ กัน เพื่อที่จะได้ทราบถึงทักษะ
การใช้กล้องจุลทรรศน์และการเตรียมสไลด์ว่ามีข้อบกพร่องหรือควรปรับปรุงต่อไป
ครูให้นักเรียนร่วมกันอภิปรายก่อนการทำ�กิจรรม โดยใช้คำ�ถามดังนี้
เหตุใดจึงเลือกศึกษาการแบ่งเซลล์แบบไมโอซิสจากดอกกุยช่าย (ขึ้นอยู่กับพืชที่นักเรียนนำ�มา)
โครโมโซมในขณะที่มีการแบ่งเซลล์แบบไมโอซิสมีการเปลี่ยนแปลงเหมือนการแบ่งเซลล์
แบบไมโทซิสหรือไม่
ตัวอย่างผลการทำ�กิจกรรม
ผลที่ได้อาจพบการแบ่งเซลล์ครบหรือไม่ครบทุกระยะ ให้นักเรียนบันทึกตามที่สังเกตได้ใน
แต่ละระยะ และเรียงลำ�ดับการแบ่งเซลล์ระยะต่าง ๆ โดยเปรียบเทียบกับรูป 3.61 ก.
ในหนังสือเรียน (ในหนังสือเรียนจะเป็นการแบ่งเซลล์แบบไมโอซิสของหัวใจม่วง ซึ่งจะใช้
แสดงถึงการแบ่งเซลล์แบบไมโอซิสของเซลล์พืช)
อภิปรายและสรุปผล
ครูให้นักเรียนอภิปรายการเปลี่ยนแปลงของนิวเคลียสในแต่ละระยะที่สังเกตได้ และ
ร่วมกันสรุปการเปลี่ยนแปลงของนิวเคลียสและการแบ่งโซโทพลาซึมและตอบคำ�ถามท้ายกิจกรรม
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 3 | เซลล์และการทำ�งานของเซลล์
ชีววิทยา เล่ม 1
232