โดยทั่วไปแล้วเซลล์ลูกจะสามารถแบ่งเซลล์ต่อไปได้หรือไม่ และการเปลี่ยนแปลงในระยะ
ต่างๆ ที่เกิดขึ้นที่นิวเคลียสยังเกิดขึ้นเหมือนเดิมหรือไม่
ยังสามารถแบ่งเซลล์ต่อไปได้อีก โดยมีการเปลี่ยนแปลงในระยะต่าง ๆที่เกิดขึ้นที่นิวเคลียส
เหมือนเดิม
ถ้าต้องการจะนับจำ�นวนโครโมโซมควรศึกษาในระยะใดของการแบ่งเซลล์ เพราะเหตุใด
ระยะเมทาเฟส เพราะเป็นระยะที่โครโมโซมมีการขดสั้นที่สุด
ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเกี่ยวกับการแบ่งเซลล์แบบไมโทซิสอีกครั้งหนึ่งเพื่อให้นักเรียนเกิด
ความเข้าใจที่ถูกต้อง ในประเด็นต่างๆ ต่อไปนี้
1. เกิดขึ้นกับเซลล์ร่างกายของสิ่งมีชีวิต
2. ได้เซลล์ลูก 2 เซลล์ แต่ละเซลล์มีจำ�นวนโครโมโซมและข้อมูลทางพันธุกรรมเหมือนกับเซลล์แม่
3. วัฏจักรเซลล์ประกอบด้วย 2 ขั้นตอน คือ ระยะอินเตอร์เฟสและระยะ M phase ที่รวมไป
ถึงการแบ่งไซโทพลาซึม
4. ระยะอินเตอร์เฟสเป็นระยะที่ใช้เวลานานที่สุดในวัฏจักรเซลล์ประกอบด้วย 3 ระยะ คือ
ระยะ G
1
ระยะ S และระยะ G
2
ซึ่งเป็นช่วงที่เซลล์มีกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อเตรียมตัวสำ�หรับ
แบ่งเซลล์ต่อไป
5. ระยะ M phase เป็นระยะการแบ่งเซลล์จนได้เซลล์ใหม่ 2 เซลล์ ประกอบด้วยการแบ่ง
นิวเคลียส 4 ระยะคือ ระยะโพรเฟส เมทาเฟส แอนาเฟส และเทโลเฟส รวมไปถึงระยะที่มี
การแบ่งไซโทพลาซึม
6. การแบ่งไซโทพลาซึม เซลล์พืชจะมีการสร้างแผ่นกั้นเซลล์ขึ้นมาแบ่งไซโทพลาซึม โดยนำ�
เวสิเคิลที่สร้างจากกอลจิบอดีที่มีสารที่เป็นองค์ประกอบของผนังเซลล์ ซึ่งจะเริ่มสร้างจาก
บริเวณตรงกลางก่อนแล้วจึงขยายไปสู่ผนังเซลล์เดิมทั้งสองข้าง ต่อมามีการสร้างสาร
เซลลูโลสมาสะสมที่แผ่นกั้นเซลล์เกิดเป็นผนังเซลล์ใหม่กั้นเซลล์เดิมออกเป็น 2 เซลล์ ส่วน
เซลล์สัตว์เยื่อหุ้มเซลล์จะคอดเข้าหากันโดยเกิดจากการทำ�งานของไมโครฟิลาเมนท์แบ่ง
ไซโทพลาซึมได้เป็น 2 เซลล์
หลังจบเรื่องวัฏจักรเซลล์และการแบ่งเซลล์แบบไมโทซิส ครูอาจใช้คำ�ถามว่าถ้าเซลล์มีการแบ่ง
เซลล์โดยไม่สามารถควบคุมไดัจะเกิดอะไรขึ้นกับร่างกาย เพื่อเชื่อมโยงไปถึงการเกิดมะเร็งบริเวณส่วน
ต่าง ๆ ของร่างกาย ครูให้นักเรียนสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับสาเหตุการเกิดมะเร็งบางชนิด เช่น มะเร็งปอด
มะเร็งลำ�ไส้ใหญ่ มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งเต้านม เกี่ยวกับปัจจัยที่ทำ�ให้เกิดมะเร็ง รวมทั้งวิธีการ
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 3 | เซลล์และการทำ�งานของเซลล์
ชีววิทยา เล่ม 1
228