การเตรียมสารละลาย acetocarmine
ใช้ Glacial acetic acid 45 มิลลิลิตร ผสมกับน้ำ�กลั่น 55 มิลลิลิตร นำ�ไปอุ่นให้ร้อนที่อุณหภูมิ
ประมาณ 60 องศาเซลเซียส เติมสี Carmine 0.5 กรัม ลงไปผสมให้เข้ากัน (ขั้นตอนดังกล่าว
ควรทำ�ในภาชนะที่มีฝาปิดมิดชิด) นำ�ไปต้มให้เดือด 15 นาที แล้วปล่อยทิ้งไว้ให้เย็นจึงกรอง เมื่อ
จะใช้ควรใส่สารละลาย Ferric chloride อิ่มตัว 1-2 หยด (อาจใช้ตะปูขึ้นสนิมแช่ลงไป 1 คืน
แทนได้) จะทำ�ให้ติดสีดีขึ้น ควรเตรียมสารละลายนี้ล่วงหน้าอย่างน้อย 1-2 สัปดาห์ เมื่อเลิกใช้
แล้วควรนำ�ไปเก็บในตู้เย็น
การเตรียมน้ำ�สีจากน้ำ�ต้มข้าวเหนียวดำ�
เตรียมข้าวเหนียวดำ� 100 กรัม ใส่ลงไปในน้ำ�ปริมาตร 150 มิลลิลิตร นำ�ไปต้มจนน้ำ�เดือด
และต้มต่อไปเป็นเวลา 5 นาที จากนั้นนำ�ไปกรองนำ�สารละลายที่ได้ไปใช้ย้อมสี
ข้อเสนอแนะสำ�หรับครู
บริเวณที่เหมาะสมต่อการนำ�ไปทำ�กิจกรรม คือ ส่วนปลายรากหอม โดยตำ�แหน่งที่ควรตัด
เพื่อนำ�ไปศึกษา คือ ยาวประมาณไม่เกิน 1-2 มิลลิเมตรจากปลาย เพราะถ้าตัดยาวเกินไปเซลล์
ส่วนใหญ่ที่พบจะเป็นเซลล์ที่ไม่มีการแบ่งเซลล์
ครูนำ�เข้าสู่บทเรียนโดยใช้คำ�ถามให้นักเรียนร่วมกันอภิปรายก่อนการทำ�กิจกรรม ดังนี้
เหตุใดจึงเลือกใช้หอมเพื่อศึกษาการแบ่งเซลล์แบบไมโทซิส
เหตุที่เลือกใช้หอมเพื่อศึกษาการแบ่งเซลล์แบบไมโทซิสเนื่องจากเพาะง่าย รากงอกเร็วและ
มีจำ�นวนมาก
ในการทำ�กิจกรรมเรื่องการแบ่งเซลล์แบบไมโทซิส ครูควรกระตุ้นให้นักเรียนสนใจศึกษา
และสังเกตการเปลี่ยนแปลงของนิวเคลียสในการแบ่งเซลล์แบบไมโทซิสด้วยตนเอง โดยให้
นักเรียนลงมือปฏิบัติหลังจากที่ครูสาธิต และแนะนำ�ขั้นตอนต่างๆ แล้วให้นักเรียนนำ�ผลการทำ�
กิจกรรมมาเปรียบเทียบกับรูป 3.46 หรือครูอาจนำ�สไลด์ถาวรมาศึกษาด้วยกล้องจุลทรรศน์
ตั้งไว้ให้นักเรียนดูเพื่อเปรียบเทียบกัน และควรให้นักเรียนเรียงลำ�ดับการเปลี่ยนแปลงนิวเคลียส
ในระยะต่างๆ
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 3 | เซลล์และการทำ�งานของเซลล์
ชีววิทยา เล่ม 1
224