หลังจากที่นักเรียนทำ�กิจกรรมเสร็จแล้ว ครูควรให้นักเรียนร่วมกันสรุปอีกครั้งหนึ่งว่าการศึกษา
ทางวิทยาศาสตร์หรือชีววิทยา นอกจากต้องอาศัยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ (scientific method) แล้ว
ยังต้องมีความเข้าใจและตระหนักในธรรมชาติของความรู้วิทยาศาสตร์ด้วยเช่นกัน ว่าสามารถ
เปลี่ยนแปลงได้และผลของการเปลี่ยนแปลงนั้นจะเป็นประโยชน์ต่อการดำ�รงชีวิตของมนุษย์ต่อไป
จากนั้นครูนำ�เข้าสู่หัวข้อต่อไป โดยชี้ให้นักเรียนเห็นว่านักเรียนสามารถนำ�วิธีการทำ�งานของ
นักวิทยาศาสตร์ไปใช้ในการศึกษาในการทำ�โครงงานในวิชาต่าง ๆ ได้ เพื่อฝึกกระบวนการคิด
การวางแผนในการทำ�งานและการแก้ปัญหา ซึ่งจะเป็นพื้นฐานในการประกอบอาชีพ การดำ�รงชีวิต
และการพัฒนาประเทศชาติได้ต่อไปในอนาคต
1.3 กิจกรรมสะเต็มศึกษาและกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม
จุดประสงค์การเรียนรู้
1. อธิบายและบอกความสำ�คัญของสะเต็มศึกษาที่ใช้กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรมเพื่อ
ใช้ในการแก้ปัญหาในชีวิตจริง
2. เปรียบเทียบความเหมือนหรือความแตกต่างระหว่างวิธีการทางวิทยาศาสตร์และ
กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม
3. ออกแบบกิจกรรมตามแนวทางสะเต็มศึกษาโดยใช้กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม
แนวการจัดการเรียนรู้
ครูนำ�เข้าสู่บทเรียนโดยการยกตัวอย่างการศึกษาของนักวิทยาศาสตร์เรื่องใดเรื่องหนึ่งที่แสดง
ให้เห็นว่าในบางครั้งเรื่องที่ต้องการจะศึกษาไม่ได้ใช้ความรู้ทางสาขาใดเพียงแขนงเดียวแต่มักจะ
เกี่ยวข้องกับความรู้ในแขนงอื่นๆ ด้วย เช่น คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นต้น ในปัจจุบันนี้มีแนวทาง
การจัดการศึกษาที่บูรณาการความรู้ในด้านต่าง ๆ เข้าด้วยกันเพื่อเชื่อมโยงและแก้ปัญหาในชีวิตจริง
จากนั้นนำ�เข้าสู่หัวข้อสะเต็มศึกษา
1.3.1 สะเต็มศึกษาคืออะไร
ครูให้ความรู้เกี่ยวกับสะเต็มศึกษา (Science Technology Engineering and Mathematics
Education : STEM Education) แก่นักเรียนว่า เป็นแนวทางการจัดการเรียนรู้แบบหนึ่งที่ส่งเสริมให้
นักเรียนได้ใช้ทักษะการคิด โดยเฉพาะทักษะการคิดวิเคราะห์ ทักษะการคิดแก้ปัญหา และทักษะการ
คิดสร้างสรรค์ผ่านการทำ�กิจกรรม
ที่มีจุดเริ่มต้นจากการมองเห็นปัญหาที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำ�วัน
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 1 | การศึกษาชีววิทยา
ชีววิทยา เล่ม 1
58