1.
ถั่วงอกที่มีลักษณะผอมยาว ตรง อย่างน้อย 0.5 กิโลกรัม
2.
ถั่วงอกที่มีลักษณะอวบสั้น อย่างน้อย 0.5 กิโลกรัม
3.
ถั่วงอกที่มีใบสีเขียว อย่างน้อย 0.5 กิโลกรัม
***โดยกำ�หนดให้ถั่วเขียว 0.5 กิโลกรัม สามารถเพาะเป็นถั่วงอกได้ประมาณ 3 กิโลกรัม
ขั้นรวบรวมข้อมูลและแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับปัญหา
3.
ครูให้นักเรียนสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับปัจจัยที่ทำ�ให้ถั่วงอกมีลักษณะต่าง ๆ เช่น อวบสั้น
ยาว มีสีต่าง ๆ และวิธีการเพาะให้ได้ถั่วงอกตามลักษณะที่ต้องการ
4.
จากนั้นให้นักเรียนศึกษาใบความรู้ที่ 1 ปัจจัยที่มีผลต่อการเพาะถั่วงอก และใบความรู้
ที่ 2 ตัวอย่างวิธีการเพาะถั่วงอก เพื่อให้นักเรียนมีความรู้เพียงพอสำ�หรับนำ�ไปใช้ใน
การออกแบบกิจกรรม
ขั้นออกแบบวิธีการแก้ปัญหา
5.
ครูให้นักเรียนพิจารณาวัสดุอุปกรณ์ที่ได้จัดเตรียมไว้ จากนั้นออกแบบการเพาะถั่วงอก
เพื่อให้ได้ถั่วงอกตามลักษณะที่ต้องการ โดยให้คำ�นึงถึงปัญหากรณีที่ผู้เพาะถั่วงอกไม่มี
เวลารดน้ำ�ด้วยตนเองต้องออกแบบระบบการรดน้ำ�ด้วย โดยเขียนร่างการออกแบบ
ลงบนกระดาษแผ่นใหญ่ พร้อมทั้งบันทึกลงในใบกิจกรรม
ขั้นวางแผนและดำ�เนินการแก้ปัญหา
6.
ครูให้นักเรียนเพาะถั่วงอกตามที่ได้ออกแบบไว้ พร้อมทั้งปรับปรุงแก้ไขวิธีการเพาะ
ถั่วงอก
(
หมายเหตุ
: การเพาะถั่วงอกต้องใช้เวลาอย่างน้อย 3 วัน จึงต้องเลือกวันที่จะเริ่ม
ทดลองปลูกเป็นวันจันทร์หรือวันอังคารเพื่อให้นักเรียนมีเวลาเพาะและดูแลรดน้ำ�
ถั่วงอกได้ ในกรณีที่ชั่วโมงเรียนไม่ตรงกับวันจันทร์หรืออังคาร ครูอาจให้นักเรียน
จัดเตรียมอุปกรณ์และใส่ถั่วเขียวให้เสร็จเรียบร้อยภายในชั่วโมงเรียน)
ขั้นทดสอบ ประเมินผล และปรับปรุงแก้ไขวิธีการแก้ปัญหา หรือชิ้นงาน
7.
นักเรียนบันทึกผลการเพาะถั่วงอก สรุป วิเคราะห์ผลการเพาะถั่วงอก และอภิปรายถึง
ปัจจัยต่าง ๆ ที่มีผลต่อการเพาะถั่วงอก เพื่ออธิบายว่าการออกแบบและการเพาะ
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 1 | การศึกษาชีววิทยา
ชีววิทยา เล่ม 1
64