ครูอธิบายเพิ่มเติมในแต่ละขั้น ดังนี้
1.
ระบุปัญหา (problem identification)
เป็นการทำ�ความเข้าใจปัญหาหรือความท้าทาย วิเคราะห์เงื่อนไขหรือข้อจำ�กัดของสถานการณ์
ปัญหา เพื่อกำ�หนดขอบเขตของปัญหาซึ่งจะนำ�ไปสู่การสร้างชิ้นงานหรือวิธีการในการแก้
ปัญหา
2.
รวบรวมข้อมูลและแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับปัญหา (related information search)
เป็นการรวบรวมข้อมูลและแนวคิดทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี ที่เกี่ยวข้อง
กับแนวทางการแก้ปัญหาและประเมินความเป็นไปได้ ข้อดีและข้อจำ�กัด
3.
ออกแบบวิธีการแก้ปัญหา (solution design)
เป็นการประยุกต์ใช้ข้อมูลและแนวคิดที่เกี่ยวข้องเพื่อการออกแบบชิ้นงานหรือวิธีการในการ
แก้ปัญหา โดยคำ�นึงถึงทรัพยากร ข้อจำ�กัด และเงื่อนไขตามสถานการณ์ที่กำ�หนด
4.
วางแผนและดำ�เนินการแก้ปัญหา (planning and development)
เป็นการกำ�หนดลำ�ดับขั้นตอนของการสร้างชิ้นงานหรือวิธีการ แล้วลงมือสร้างชิ้นงานหรือ
พัฒนาวิธีการเพื่อใช้ในการแก้ปัญหา
5.
ทดสอบ ประเมินผล และปรับปรุงแก้ไขวิธีการแก้ปัญหาหรือชิ้นงาน (testing, evaluation
and design improvement)
เป็นการทดสอบและประเมินการใช้งานของชิ้นงานหรือวิธีการ โดยผลที่ได้อาจนำ�มาใช้ใน
การปรับปรุงและพัฒนาให้มีประสิทธิภาพในการแก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสมที่สุด
6.
นำ�เสนอวิธีการแก้ปัญหา ผลการแก้ปัญหาหรือชิ้นงาน (presentation)
เป็นการนำ�เสนอแนวคิดและขั้นตอนการแก้ปัญหาของการสร้างชิ้นงานหรือการพัฒนาวิธีการ
ให้ผู้อื่นเข้าใจและได้ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนาต่อไป
ครูอาจนำ�วีดิทัศน์กิจกรรมสะเต็มศึกษาดีเด่นระดับนานาชาติ ให้นักเรียนดูเป็นตัวอย่างเพื่อให้
เกิดความเข้าใจในกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม ที่เผยแพร่อยู่ในเว็บไซต์ สสวท. เช่น เรื่อง การ
ศึกษาพฤติกรรมการตอบสนองต่อแรงโน้มถ่วงของหนอนไหมเพื่อใช้ควบคุมการพ่นใยในการผลิตแผ่น
ใยไหม ของโรงเรียนดำ�รงราษฎร์สงเคราะห์ จ.เชียงราย จากนั้นให้นักเรียนทำ�กิจกรรม 1.9 ในหนังสือ
เรียน
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 1 | การศึกษาชีววิทยา
ชีววิทยา เล่ม 1
60