จากนั้นครูให้นักเรียนทำ�กิจกรรมตามแนวทางสะเต็มศึกษา โดยก่อนให้นักเรียนทำ�กิจกรรม
ครูควรเชื่อมโยงความรู้ที่เกี่ยวข้องด้านวิทยาศาสตร์ (Science: S) เทคโนโลยี (Technology: T)
วิศวกรรมศาสตร์ (Engineering: E) และคณิตศาสตร์ (Mathematics: M) ที่เกี่ยวกับถั่วงอก
สร้างอาชีพ ดังนี้
วิทยาศาสตร์
เมล็ดและเอ็มบริโอ ปัจจัยที่มีผลต่อการงอกของเมล็ด (น้ำ�หรือความชื้น ออกซิเจน อุณหภูมิ
แสง) สภาพพักตัวของเมล็ด การตรวจสอบคุณภาพของเมล็ดพันธุ์ สารควบคุมการเจริญของพืช
(ออกซิน ไซโทไคนิน กรดแอบไซซิก) การตอบสนองของพืชต่อสิ่งแวดล้อม
คณิตศาสตร์
เรขาคณิตเพื่อการออกแบบต่าง ๆ เพื่อให้ได้ปริมาตรที่ต้องการ เช่น ออกแบบบรรจุภัณฑ์
การคำ�นวณต้นทุน กำ�ไร
เทคโนโลยี (เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และการออกแบบและเทคโนโลยี)
การสร้างสิ่งของเครื่องใช้ ผลิตภัณฑ์ หรือวิธีการ ตามกระบวนการเทคโนโลยี ปฏิบัติตาม
ขั้นตอนดังนี้ (1) กำ�หนดปัญหาหรือความต้องการ (2) รวบรวมข้อมูล (3) เลือกวิธีการ (4) ออกแบบ
และปฏิบัติการ พัฒนา วิเคราะห์และเลือกแนวคิดที่ดีที่สุด แล้วจึงร่างภาพฉายและสร้างแบบ
จำ�ลองจากภาพฉาย อาจใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการออกแบบ หรือถ่ายทอดความคิดเกี่ยวกับวิธี
การด้วยผังงาน แล้วลงมือปฏิบัติ (5) ทดสอบ (6) ปรับปรุงแก้ไข (7) ประเมินผล โดยการทำ�งาน
ตามกระบวนการเทคโนโลยีต้องคำ�นึงถึงข้อจำ�กัดทางเทคโนโลยี การสร้างสิ่งของเครื่องใช้
ผลิตภัณฑ์ หรือวิธีการควรมีการฝึกความคิดสร้างสรรค์ 4 ลักษณะคือ ความคิดริเริ่ม ความคิด
คล่อง ความคิดยืดหยุ่น และความคิดละเอียดลออ
จากนั้นครูดำ�เนินกิจกรรมตามขั้นตอนต่างๆ ของกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม ดังนี้
ขั้นระบุปัญหา
1.
ครูให้นักเรียนศึกษารูปอาหารที่มีถั่วงอกเป็นองค์ประกอบ เช่น ผัดถั่วงอก กระเพาะ
ปลา หอยทอด ผัดไทย ออส่วน ก๋วยเตี๋ยว แล้วให้นักเรียนพิจารณาว่าถั่วงอกในอาหาร
ต่าง ๆ นั้น มีรูปร่างลักษณะที่เหมือนหรือต่างกันอย่างไร ตัวอย่างรูปอาหาร เช่น
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 1 | การศึกษาชีววิทยา
ชีววิทยา เล่ม 1
62