Table of Contents Table of Contents
Previous Page  239 / 284 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 239 / 284 Next Page
Page Background

7.4 ปัจจัยที่ทำ�ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงความถี่ของแอลลีล

จุดประสงค์การเรียนรู้

อธิบายและสรุปปัจจัยที่ทำ�ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงความถี่ของแอลลีลและความถี่ของจีโนไทป์

ในประชากรที่ส่งผลต่อวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต

แนวการจัดการเรียนรู้

ครูทบทวนหลักการของฮาร์ดี-ไวน์เบิร์ก ว่าจะเกิดขึ้นได้ต้องมีเงื่อนไขใดบ้าง ขณะเดียวกัน ใน

ธรรมชาติเงื่อนไขดังกล่าวเกิดขึ้นได้ยาก ดังนั้นความถี่ของแอลลีลของประชากรสามารถเปลี่ยนแปลง

ได้ทำ�ให้ประชากรไม่อยู่ในสมดุลฮาร์ดี-ไวน์เบิร์ก การเปลี่ยนแปลงความถี่ของแอลลีลในประชากรทำ�ให้

โครงสร้างทางพันธุกรรมของประชากรเปลี่ยนแปลง นั่นคือประชากรเกิดวิวัฒนาการขึ้น จากนั้นให้

นักเรียนสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับวิวัฒนาการจุลภาคและวิวัฒนาการมหภาค และอภิปรายร่วมกันเพื่อสรุป

ว่าวิวัฒนาการจุลภาคสามารถศึกษาได้จากการศึกษาเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงความถี่ของแอลลีลใน

ประชากร

จากนั้นครูอธิบายและยกตัวอย่างวิวัฒนาการจุลภาค เช่น การดื้อยาปฏิชีวนะของแบคทีเรีย

การดื้อสารฆ่าแมลงของแมลงบางชนิด พร้อมทั้งอธิบายและยกตัวอย่างวิวัฒนาการมหภาค เช่น

นกฟินช์สปีชีส์ต่าง ๆ บนหมู่เกาะกาลาปากอส

ครูอาจตั้งคำ�ถามเพิ่มเติมว่า

มีปัจจัยใดบ้างที่ทำ�ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงความถี่ของแอลลีล

ในประชากร

โดยให้นักเรียนสืบค้นข้อมูลจากในหนังสือเรียน ซึ่งจากการสืบค้นนักเรียนควรจะบอก

ได้ว่าปัจจัยต่าง ๆ ที่ทำ�ให้ประชากรเกิดวิวัฒนาการได้ คือ

1. เจเนติกดริฟต์แบบสุ่ม

2. การถ่ายเทยีน

3. การผสมพันธุ์แบบไม่สุ่ม

4. มิวเทชัน

5. การคัดเลือกโดยธรรมชาติ

ครูอาจใช้คำ�ถามนำ�ในหนังสือเรียนเพื่อนำ�ไปสู่การอภิปรายว่า ปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้ทำ�ให้

ประชากรเกิดวิวัฒนาการได้อย่างไร

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

บทที่ 7 | วิวัฒนาการ

ชีววิทยา เล่ม 2

227