- เจเนติกดริฟต์แบบสุ่ม
ครูให้นักเรียนศึกษารูป 7.16 ในหนังสือเรียนซึ่งแสดงการเปลี่ยนแปลงความถี่ของแอลลีลซึ่ง
เกิดขึ้นอย่างไม่เจาะจงของประชากรไม้ดอก เพื่อทำ�ความเข้าใจการเปลี่ยนทางพันธุกรรมอย่าง
ไม่เจาะจง และเน้นให้เห็นว่าประชากรขนาดเล็กมีโอกาสเกิดการเปลี่ยนทางพันธุกรรมอย่างไม่เจาะจง
มากกว่าประชากรขนาดใหญ่ เช่น เมื่อเปรียบเทียบประชากรไม้ดอกในบริเวณหนึ่งซึ่งมีจำ�นวน
10,000 ต้น กับประชากรไม้ดอกชนิดเดียวกันในอีกบริเวณหนึ่งที่มีจำ�นวน 10 ต้น หากแอลลีลใด
แอลลีลหนึ่งในประชากรทั้งสองนี้มีความถี่เท่ากับ 0.1 เท่ากัน ซึ่งเมื่อคำ�นวณโดยใช้สมการของ
ฮาร์ดี-ไวน์เบิร์กจะพบว่าประชากรที่มีขนาด 10,000 ต้น จะมีต้นที่มีแอลลีลนี้อยู่ 1,900 ต้น (ต้นที่มี
จีโนไทป์
Rr
จำ�นวน 1,800 ต้น และจีโนไทป์
rr
จำ�นวน 100 ต้น) ในขณะที่ประชากรที่มีจำ�นวน
10 ต้นจะมีต้นที่มีแอลลีลนี้เพียง 2 ต้น (ต้นที่มีจีโนไทป์
Rr
จำ�นวน 2 ต้น) ดังนั้นจะเห็นได้ว่าประชากร
ที่มี 10 ต้น มีโอกาสที่แอลลีลนี้จะหายไปจากยีนพูลของประชากรสูงกว่าประชากรที่มี 10,000 ต้น
และให้นักเรียนตอบคำ�ถามในหนังสือเรียน ซึ่งมีแนวคำ�ตอบดังนี้
มีสาเหตุใดบ้างที่ทำ�ให้ความถี่ของแอลลีลในแต่ละชั่วรุ่นของประชากรไม้ดอกในรูปมีการ
เปลี่ยนแปลง
คำ�ตอบอาจมีได้หลากหลายขึ้นอยู่กับความรู้เดิมและประสบการณ์ของนักเรียน เช่น ไม้ดอก
บางต้นถูกสัตว์ขนาดใหญ่ทำ�ลายโดยการเหยียบหรือถูกกิน ไม่มีโอกาสได้ผสมพันธุ์จึงไม่มีลูก
จากนั้นครูให้นักเรียนศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม โดยใช้สถานการณ์ที่ทำ�ให้เกิดเจเนติกดริฟต์แบบสุ่ม
ที่พบในธรรมชาติ 2 สถานการณ์คือ ปรากฏการณ์คอขวดและปรากฏการณ์ผู้ก่อตั้ง เพื่อให้นักเรียน
ทำ�ความเข้าใจเกี่ยวกับการเกิดการเปลี่ยนทางพันธุกรรมอย่างไม่เจาะจงได้ดียิ่งขึ้น
- การถ่ายเทยีน
ครูให้นักเรียนศึกษารูป 7.18 ในหนังสือเรียนเกี่ยวกับการถ่ายเทยีน แล้วตอบคำ�ถามตรวจสอบ
ความเข้าใจ
บทความสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 7 | วิวัฒนาการ
ชีววิทยา เล่ม 2
228