ครูอาจใช้คำ�ถามในหนังสือเรียนเพื่อนำ�เข้าสู่การสืบค้นข้อมูลในหัวข้อ 7.5.2 ว่า
ในธรรมชาติ
มีสิ่งมีชีวิตต่างสปีชีส์อยู่รวมกันจำ�นวนมาก สิ่งมีชีวิตเหล่านี้มีกลไกป้องกันการผสมพันธุ์ข้าม
สปีชีส์ได้อย่างไร
7.5.2 การแยกเหตุการสืบพันธุ์
ครูให้นักเรียนสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับกลไกการป้องกันการผสมพันธุ์ข้ามสปีชีส์หรือการแยกเหตุ
การสืบพันธุ์ พร้อมทั้งยกตัวอย่างของสิ่งมีชีวิตในท้องถิ่นเพิ่มเติมเพื่อประกอบการอภิปราย
จากการสืบค้นข้อมูลและอภิปรายร่วมกัน นักเรียนควรสรุปได้ว่าสิ่งมีชีวิตต่างสปีชีส์กันมี
การแยกเหตุการสืบพันธุ์อยู่ 2 ระดับ คือ การแยกเหตุการสืบพันธุ์ก่อนระยะไซโกต และ การแยกเหตุ
การสืบพันธุ์หลังระยะไซโกต
การแยกเหตุการสืบพันธุ์ก่อนระยะไซโกต
ได้แก่ สิ่งมีชีวิตต่างสปีชีส์กันอาจมีแหล่งที่อยู่
ต่างกันมีพฤติกรรมต่างกันมีช่วงเวลาในการผสมพันธุ์ต่างกันมีโครงสร้างของอวัยวะสืบพันธุ์แตกต่างกัน
หรือมีสรีรวิทยาของเซลล์สืบพันธุ์แตกต่างกัน ทำ�ให้เซลล์สืบพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตต่างสปีชีส์กันไม่สามารถ
ผสมพันธุ์กันได้
การแยกเหตุการสืบพันธุ์หลังระยะไซโกต
ทำ�ให้ลูกผสมที่เกิดจากสิ่งมีชีวิตต่างสปีชีส์กัน
ไม่สามารถเจริญเติบโตเป็นตัวเต็มวัยหรือสืบพันธุ์ต่อไปได้ ได้แก่ ลูกผสมตายก่อนถึงวัยเจริญพันธุ์
ลูกผสมเป็นหมัน และลูกผสมล้มเหลว
จากนั้นให้นักเรียนสืบค้นข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อตอบคำ�ถามในหนังสือเรียน ซึ่งมีแนวคำ�ตอบดังนี้
ม้ามีโครโมโซมจำ�นวน 64 โครโมโซม ส่วนลามีจำ�นวนโครโมโซม 62 โครโมโซม ล่อควรมีจำ�นวน
โครโมโซมเท่าใด และเพราะเหตุใดล่อจึงเป็นหมัน
ล่อเกิดจากเซลล์สืบพันธุ์ของม้าที่มีจำ�นวน 32 โครโมโซม และเซลล์สืบพันธุ์ของลาที่มีจำ�นวน
31 โครโมโซม ดังนั้นล่อจะมีโครโมโซมจำ�นวน 63 โครโมโซม ล่อเป็นหมันเพราะใน
การแบ่งเซลล์แบบไมโอซิสเพื่อสร้างเซลล์สืบพันธุ์ โครโมโซมของม้ากับลาจะไม่มาเข้าคู่กัน
ทำ�ให้ได้เซลล์สืบพันธุ์ที่ผิดปกติ
นอกจากล่อแล้วมีลูกผสมที่เกิดจากสิ่งมีชีวิตต่างสปีชีส์ชนิดใดอีกบ้าง
ลูกผสมที่เกิดจากสิ่งมีชีวิตต่างสปีชีส์ เช่น ไทกอน (tigon) เกิดจากเสือเพศผู้ผสมกับสิงโต
เพศเมีย และไลเกอร์ (liger) เกิดจากสิงโตเพศผู้ผสมกับเสือเพศเมีย
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 7 | วิวัฒนาการ
ชีววิทยา เล่ม 2
234