7.5.3 กำ�เนิดสปีชีส์ใหม่
ครูทบทวนว่าการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางพันธุกรรมของยีนพูลในประชากร ทำ�ให้สิ่งมีชีวิต
เกิดวิวัฒนาการเป็นสิ่งมีชีวิตสปีชีส์ใหม่ และตั้งคำ�ถามเพื่อนำ�ไปสู่การค้นคว้าและการอภิปรายว่า
สปีชีส์ใหม่เกิดได้อย่างไร
จากนั้นให้นักเรียนได้ศึกษารูป 7.25 กำ�เนิดสปีชีส์แบบแอลโลพาทริก และรูป 7.27
กำ�เนิดสปีชีส์แบบซิมพาทริก โดยให้นักเรียนอภิปรายร่วมกันโดยใช้ตัวอย่างคำ�ถามดังนี้
เพราะเหตุใดการแบ่งแยกทางภูมิศาสตร์จึงทำ�ให้เกิดสิ่งมีชีวิตสปีชีส์ใหม่
เนื่องจากอุปสรรคที่มาขวางกั้นทำ�ให้ประชากรที่เคยอาศัยอยู่ในพื้นที่เดียวกันถูกแบ่งแยก
ออกจากกันเป็นประชากรย่อย ๆ ซึ่งไม่สามารถถ่ายเทยีนระหว่างประชากรย่อยได้ ทำ�ให้
ลักษณะต่าง ๆ รวมทั้งโครงสร้างทางพันธุกรรมของแต่ละประชากรย่อยมีการปรับเปลี่ยน
ไปตามสภาพแวดล้อมที่อาศัยอยู่จนกระทั่งเกิดวิวัฒนาการเป็นสิ่งมีชีวิตต่างสปีชีส์กัน
การเกิดสปีชีส์ใหม่ในเขตภูมิศาสตร์เดียวกันเกิดขึ้นได้อย่างไร
เกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมของสมาชิกบางกลุ่มในประชากร เช่น การเกิด
พอลิพลอยดีในพืช หรือเกิดจากพฤติกรรมการเลือกแหล่งที่อยู่ของสัตว์ ทำ�ให้ไม่สามารถ
ผสมพันธุ์กับสมาชิกประชากรดั้งเดิมแล้วให้กำ�เนิดลูกหลานได้ จึงไม่เกิดการถ่ายเทยีน ทำ�ให้
เกิดวิวัฒนาการเป็นสิ่งมีชีวิตสปีชีส์ใหม่
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 7 | วิวัฒนาการ
ชีววิทยา เล่ม 2
235