จากนั้นครูให้นักเรียนศึกษาปัจจัยอื่นๆ ที่ทำ�ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงความถี่ของแอลลีล ดังนี้
-
การผสมพันธุ์แบบไม่สุ่ม
-
มิวเทชัน
-
การคัดเลือกโดยธรรมชาติ
แล้วให้นักเรียนทำ�กิจกรรม 7.2
จุดประสงค์
สรุปการเปลี่ยนแปลงความถี่ของแอลลีลที่เกิดขึ้นจากการคัดเลือกโดยธรรมชาติ
เวลาที่ใช้ (โดยประมาณ)
20 นาที
แนวการตอบกิจกรรม
การเปลี่ยนแปลงความถี่ของแอลลีลในประชากรผีเสื้อในเมือง A และเมือง B เป็นอย่างไร
ในเมือง A ความถี่ของแอลลีลที่ควบคุมลักษณะสีเทาของผีเสื้อจะเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากมี
จำ�นวนประชากรผีเสื้อสีเทามากกว่าสีดำ� แต่ในเมือง B ความถี่ของแอลลีลที่ควบคุมลักษณะ
สีดำ�ของผีเสื้อจะเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากมีจำ�นวนประชากรผีเสื้อสีดำ�มากกว่าสีเทา
ธรรมชาติมีส่วนเกี่ยวข้องต่อการเปลี่ยนแปลงความถี่ของแอลลีลที่ทำ�ให้เกิดการคัดเลือก
ลักษณะในประชากรผีเสื้อสปีชีส์นี้อย่างไร
ในธรรมชาติผีเสื้อชนิดนี้เป็นเหยื่อของนก นกทำ�หน้าที่เสมือนเป็นผู้คัดเลือกผีเสื้อที่มี
ลักษณะเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมให้อยู่รอด ทั้งนี้สภาพแวดล้อมมีส่วนเกี่ยวข้องต่อการ
เปลี่ยนแปลงความถี่ของแอลลีลของผีเสื้อ คือ ผีเสื้อที่มีสีปีกที่กลมกลืนกับสภาพแวดล้อม
ในเมืองจะมีโอกาสอยู่รอดมากกว่า ทำ�ให้ผีเสื้อเหล่านั้นถูกคัดเลือกและสามารถอยู่รอดได้
ต่อไป และทำ�ให้ความถี่ของแอลลีลที่ควบคุมลักษณะที่เหมาะสมนั้นมากตามไปด้วย
กิจกรรม 7.2 การคัดเลือกโดยธรรมชาติ
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 7 | วิวัฒนาการ
ชีววิทยา เล่ม 2
230