Table of Contents Table of Contents
Previous Page  245 / 284 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 245 / 284 Next Page
Page Background

แนวการจัดการเรียนรู้

ครูทบทวนปัจจัยที่ทำ�ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงความถี่ของแอลลีล ที่นำ�ไปสู่การเปลี่ยนแปลง

โครงสร้างทางพันธุกรรมของประชากร เรียกว่า วิวัฒนาการระดับจุลภาค ซึ่งเมื่อการเปลี่ยนแปลง

ดังกล่าวมีมากพอ อาจนำ�ไปสู่การเกิดสปีชีส์ใหม่ เรียกว่า วิวัฒนาการระดับมหภาค และใช้คำ�ถามนำ�

ในหนังสือเรียนว่า

สปีชีส์มีความหมายอย่างไร

เพื่อให้นักเรียนได้ศึกษาต่อในหัวข้อ 7.5.1

7.5.1 ความหมายของสปีชีส์

ครูให้นักเรียนศึกษารูป 7.20 ในหนังสือเรียนแล้วถามคำ�ถามในหนังสือเรียนว่า

นกในรูปมี

ลักษณะคล้ายคลึงกันมาก บอกได้หรือไม่ว่าเป็นสปีชีส์เดียวกันหรือต่างสปีชีส์ เพราะเหตุใด

ครูเปิดโอกาสให้นักเรียนอภิปรายโดยใช้ความรู้เดิมที่มีอยู่ ซึ่งนักเรียนอาจจะตอบได้ว่า

ไม่สามารถบอกได้จากลักษณะภายนอก อาจศึกษาจากข้อมูลทางพันธุกรรม หรืออาจให้นก 2 ตัวนี้

ผสมพันธุ์กัน หากสามารถผสมพันธุ์กันและให้ลูกหลานสืบทอดต่อไปได้แสดงว่าเป็นนกสปีชีส์เดียวกัน

แต่ถ้าให้ลูกที่เป็นหมันหรือลูกที่ค่อย ๆ อ่อนแอลงเรื่อย ๆ ในแต่ละชั่วรุ่น หรือนก 2 ตัวนี้

ไม่สามารถผสมพันธุ์และให้กำ�เนิดลูกได้ แสดงว่าต่างสปีชีส์กัน ซึ่งการใช้เกณฑ์ดังข้างต้นเป็นการใช้

เกณฑ์ตามความหมายของสปีชีส์ทางด้านชีววิทยา จากนั้นครูให้ความรู้เพิ่มเติมว่า มีแนวคิดเกี่ยวกับ

ความหมายของสปีชีส์ทางด้านอื่นๆ เช่น

1. สปีชีส์ทางด้านสัณฐานวิทยา

2. สปีชีส์ทางด้านสายวิวัฒนาการ

จากนั้นครูให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า การจัดสปีชีส์โดยอาศัยความหมายของสปีชีส์ในด้านใดด้านหนึ่ง

นั้นอาจไม่สามารถใช้ได้ในทุกสถานการณ์หรือไม่สามารถใช้กับสิ่งมีชีวิตได้ทุกชนิด และให้นักเรียนตอบ

คำ�ถามในหนังสือเรียน

การศึกษาเพื่อจำ�แนกสปีชีส์ของซากดึกดำ�บรรพ์ควรใช้ความหมายของสปีชีส์ตามแนวคิดใด

เพราะเหตุใด

การจำ�แนกสปีชีส์ของซากดึกดำ�บรรพ์น่าจะใช้หลักฐานทางด้านสัณฐานและโครงสร้างทาง

กายภาพซึ่งเป็นการจัดสปีชีส์โดยใช้ความหมายทางด้านสัณฐานวิทยา เนื่องจากซากดึกดำ�บรรพ์

สูญพันธุ์ไปแล้วจึงไม่สามารถใช้การจัดสปีชีส์โดยใช้ความหมายทางด้านชีววิทยาซึ่งอาศัย

หลักฐานด้านการผสมพันธุ์และให้กำ�เนิดลูกหลานได้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

บทที่ 7 | วิวัฒนาการ

ชีววิทยา เล่ม 2

233