Table of Contents Table of Contents
Previous Page  66 / 284 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 66 / 284 Next Page
Page Background

1. เป็นพืชที่มีวัฏจักรชีวิตสั้น ให้ผลการทดลองได้ในระยะเวลาไม่นาน

2. ปลูกง่าย เจริญเติบโตเร็ว ให้ลูกหลานจำ�นวนมากในแต่ละครั้ง ทำ�ให้ข้อมูลจากผลการทดลอง

น่าเชื่อถือมากขึ้น

3. มีหลายลักษณะซึ่งแต่ละลักษณะแตกต่างกันอย่างชัดเจน เช่น สีกลีบดอกมีสีม่วงและสีขาว

รูปร่างของเมล็ดมีเมล็ดกลมและเมล็ดขรุขระ

4. มีดอกสมบูรณ์เพศ มีกลีบดอกปิดคลุมกลุ่มเกสรเพศผู้และเกสรเพศเมีย ป้องกันไม่ให้เรณู

จากดอกอื่นเข้าผสมกับเซลล์ไข่ ในธรรมชาติจึงมีการปฏิสนธิตัวเอง ทำ�ให้ควบคุมการ

ปฏิสนธิข้ามได้ง่าย

ครูใช้คำ�ถามหรืออาจให้นักเรียนตั้งคำ�ถามเกี่ยวกับวิธีการทดลองของเมนเดล คำ�ถามอาจเป็น

ดังนี้

เมนเดลมีวิธีการผสมพันธุ์ถั่วลันเตาอย่างไร

ผลการทดลองของเมนเดลเป็นอย่างไรบ้าง

จากนั้นครูให้นักเรียนสืบค้นและวิเคราะห์การทดลองของเมนเดล โดยพิจารณาจากรูป 5.1 และ

รูป 5.2 ในหนังสือเรียน ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายเพื่อสรุปขั้นตอนการทดลองของเมนเดล ดังนี้

1. เมนเดลคัดเลือกลักษณะของถั่วลันเตา 7 ลักษณะ ได้แก่ ความสูงของต้น สีของกลีบดอก

ตำ�แหน่งของดอกบนต้น สีของเมล็ด รูปร่างของเมล็ด สีของฝัก และรูปร่างของฝัก ซึ่งแต่ละ

ลักษณะมีรูปแบบที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน เช่น กลีบดอกสีม่วงและกลีบดอกสีขาว

2. เมนเดลทำ�การทดลองผสมพันธุ์ถั่วลันเตาโดยพิจารณาลักษณะทีละลักษณะ เรียกว่า

การผสมลักษณะเดียว

3. ผสมภายในดอกเดียวกันหลาย ๆ รุ่น จนแน่ใจว่าได้ต้นที่เป็นพันธุ์แท้ของลักษณะนั้น

แล้วนำ�ต้นแม่ที่มีกลีบดอกสีม่วงพันธุ์แท้และต้นพ่อที่มีกลีบดอกสีขาวพันธุ์แท้มาผสมกัน

เรียกรุ่นนี้ว่ารุ่นพ่อแม่ หรือ รุ่น P

4. ตัดเกสรเพศผู้ทิ้งให้เหลือเฉพาะเกสรเพศเมีย เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการผสมภายใน

ดอกเดียวกัน แล้วนำ�เรณูจากอับเรณูของดอกจากอีกต้นหนึ่งมาป้ายที่ยอดเกสรเพศเมียของ

ดอกเพศเมียนั้น เพื่อให้เกิดการปฏิสนธิข้าม

5. ผสมพันธุ์ในรุ่นพ่อแม่จะได้เมล็ดซึ่งไปปลูกได้เป็นต้นใหม่จำ�นวนมาก เรียกรุ่นนี้ว่า รุ่น F

1

6. ให้รุ่น F

1

ปฏิสนธิตัวเองจะได้เมล็ดซึ่งไปปลูกได้เป็นต้นใหม่ เรียกรุ่นนี้ว่า รุ่น F

2

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

บทที่ 5 | การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม

ชีววิทยา เล่ม 2

54