ลำ�ดับนิวคลีโอไทด์ของแอลลีล
P
และแอลลีล
p
แตกต่างกันหรือไม่ ถ้าแตกต่างกันจะ
ส่งผลอย่างไร
แตกต่างกัน แอลลีล
P
ควบคุมการสังเคราะห์โปรตีนที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการสร้างสารสี
แอนโทไซยานิน ทำ�ให้เกิดกลีบดอกสีม่วง ส่วนแอลลีล
p
มีลำ�ดับนิวคลีโอไทด์เปลี่ยนแปลงไป
ทำ�ให้โปรตีนนี้เปลี่ยนแปลงไป จึงไม่มีเอนไซม์ในกระบวนการสร้างสารสีแอนโทไซยานิน
จากการทดลองของเมนเดลในรุ่น F
1
แอลลีลที่ควบคุมลักษณะกลีบดอกสีขาวยังคงมีหรือไม่
เพราะเหตุใด
รุ่น F
1
เป็นเฮเทอโรไซกัสและมีแอลลีลควบคุมลักษณะกลีบดอกสีขาว (
p
) ที่ได้รับการถ่ายทอด
จากรุ่น P อยู่ แต่ไม่มีการแสดงออก และกลีบดอกสีม่วงในรุ่น F
1
เกิดจากการแสดงออกของ
แอลลีลี่ควบคุมลักษณะกลีบดอกสีม่วง (
P
) ทำ�ให้มีการสร้างสารสีแอนโทไซยานิน
ในหัวข้อเกี่ยวกับกฎของเมนเดล นักเรียนควรมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับความน่าจะเป็น ครูควร
ทบทวนเกี่ยวกับความน่าจะเป็นโดยอาจนำ�เข้าสู่บทเรียนด้วยการตั้งประเด็นคำ�ถามว่า เมนเดล
ใช้หลักการใดอธิบายการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม จากนั้นครูทบทวนความหมายของ
ความน่าจะเป็น โดยอาจใช้แนวการจัดการเรียนรู้เรื่องความน่าจะเป็นดังนี้
ครูอาจให้นักเรียนแบ่งกลุ่มทำ�กิจกรรมนอกเวลาเรียน โดยเลือกทำ�กิจกรรม ได้แก่ โยนเหรียญ
1 เหรียญ และโยนเหรียญ 2 เหรียญ หรือ โยนลูกเต๋า ซึ่งการทำ�ลูกเต๋าอาจใช้ยางลบดินสอตัด
ให้เหมือนกันกับลูกเต๋าแทน และเขียนหมายเลข 1-6 กำ�กับ ทำ�การทดลองประมาณ 100 ครั้ง
จากนั้นบันทึกผล นำ�เสนอ และอภิปรายผลการทดลองโดยอาศัยหลักของความน่าจะเป็น
เมื่อมีการทดลองโดยสุ่ม ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่งจะเท่ากับอัตราส่วน
ของจำ�นวนผลลัพธ์ของเหตุการณ์ต่อจำ�นวนผลลัพธ์ทั้งหมดที่อาจจะเกิดขึ้นได้ เช่น เมื่อโยน
เหรียญ 1 เหรียญ จะมีเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น 2 แบบ คือ ออกหัวหรือออกก้อย ดังนั้น ความน่าจะ
เป็นของการออกหัวจึงเท่ากับ 1/2 และความน่าจะเป็นของการออกก้อยจึงเท่ากับ 1/2 ส่วนการ
โยนลูกเต๋า 1 ครั้ง จะมีโอกาสเกิดเหตุการณ์ขึ้น 6 แบบ คือ ออกแต้มเป็น 1, 2, 3, 4, 5 หรือ 6
ดังนั้นความน่าจะเป็นของการออกแต้มเป็นแต้มใดแต้มหนึ่งจึงเท่ากับ 1/6 เป็นต้น
แนวการจัดการเรียนรู้เรื่องความน่าจะเป็น
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 5 | การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม
ชีววิทยา เล่ม 2
57