จากนั้นครูให้นักเรียนตอบคำ�ถามในหนังสือเรียน ซึ่งมีแนวการตอบดังนี้
ถ้าผสมพันธุ์ถั่วลันเตาต้นพ่อที่มีเมล็ดรูปร่างกลมและมีจีโนไทป์
Rr
กับถั่วลันเตาต้นแม่ที่มีเมล็ด
รูปร่างขรุขระและมีจีโนไทป์
rr
จะมีโอกาสสร้างเซลล์สืบพันธุ์์ได้กี่แบบ อะไรบ้าง และรุ่นลูกมี
โอกาสมีจีโนไทป์และฟีโนไทป์กี่แบบ อะไรบ้าง และมีอัตราส่วนเป็นเท่าใด
ต้นพ่อที่มีจีโนไทป์
Rr
มีโอกาสสร้างสเปิร์ม 2 แบบ คือ
R
และ
r
และต้นแม่ที่มีจีโนไทป์
rr
สร้าง
เซลล์ไข่ 1 แบบ คือ
r
รุ่น F
1
มีโอกาสมีจีโนไทป์ 2 แบบ คือ
Rr
และ
rr
มีอัตราส่วนเป็น 1 : 1
และมีฟีโนไทป์ 2 แบบ คือ เมล็ดกลม และเมล็ดขรุขระ มีอัตราส่วนเป็น 1 : 1
ถ้านำ�ถั่วลันเตากลีบดอกสีม่วงที่มีจีโนไทป์เป็น
Pp
มาผสมพันธุ์กันเอง การเข้าคู่กันของแอลลีล
เป็นไปตามหลักความน่าจะเป็นอย่างไร
ถ้าถั่วลันเตากลีบดอกสีม่วงมีจีโนไทป์
Pp
โดยแอลลีล
P
และ
p
มีโอกาสที่จะแยกสู่เซลล์ไข่
หรือสเปิร์มเท่าๆ กัน คือ 1/2 เมื่อมีการปฏิสนธิ สเปิร์มจะรวมกับเซลล์ไข่ มีโอกาสเกิดจีโนไทป์
3 แบบ คือ
PP
มีโอกาสเป็น 1/2 × 1/2 = 1/4
Pp
มีโอกาสเป็น (1/2 × 1/2) + (1/2 × 1/2) = และ
pp
มีโอกาสเป็น 1/2 × 1/2 = 1/4
จุดประสงค์
1. เขียนจีโนไทป์และฟีโนไทป์จากสถานการณ์ที่กำ�หนดให้
2. หาอัตราส่วนของจีโนไทป์และฟีโนไทป์ของรุ่น F
1
และ F
2
จากสถานการณ์ที่กำ�หนดให้
แนวการจัดกิจกรรม
1. ครูให้นักเรียนฝึกแก้โจทย์ปัญหา โดยอาจเพิ่มเติมโจทย์ปัญหาเกี่ยวกับการผสมพิจารณา
ลักษณะเดียวที่เป็นไปตามกฎของเมนเดล
2. ครูและนักเรียนอาจอภิปรายแนวการตอบร่วมกันในชั้นเรียน
กิจกรรม 5.1 การแก้โจทย์ปัญหา เรื่อง การผสมลักษณะเดียว
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 5 | การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม
ชีววิทยา เล่ม 2
60