Table of Contents Table of Contents
Previous Page  71 / 284 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 71 / 284 Next Page
Page Background

5.1.1 กฎการแยก

ครูให้นักเรียนพิจารณารูป 5.5 ในหนังสือเรียน แล้วครูตั้งคำ�ถามนำ�เพื่อเชื่อมโยงความน่าจะเป็น

และกฎการแยกของเมนเดลว่า

เพราะเหตุใดอัตราส่วนฟีโนไทป์ของรุ่น F

2

จึงมีลักษณะเด่นต่อ

ลักษณะด้อยเท่ากับ 3 : 1

นักเรียนควรสรุปได้ว่าถั่วลันเตาที่มีกลีบดอกสีม่วงมีจีโนไทป์

Pp

โดยแอลลีล

P

และ

p

มีโอกาส

ที่จะแยกสู่เซลล์ไข่หรือสเปิร์มเท่าๆ กัน คือ 1/2 เมื่อมีการปฏิสนธิโอกาสที่สเปิร์มจะรวมกับเซลล์ไข่เป็น

ไปได้ 3 แบบ คือ

PP Pp

และ

pp

ในอัตราส่วน 1 : 2 : 1 และมีฟีโนไทป์ 2 แบบ คือ กลีบดอกสีม่วงและ

กลีบดอกสีขาวในอัตราส่วน 3 : 1 จากนั้นครูให้ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้ตารางพันเนตต์ในการ

หาจีโนไทป์ของรุ่นลูก

ครูให้นักเรียนสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับใจความสำ�คัญของกฎการแยก คือ แอลลีลที่อยู่เป็นคู่กัน

จะแยกออกจากกันในระหว่างการสร้างเซลล์สืบพันธุ์ โดยเซลล์สืบพันธุ์แต่ละเซลล์จะมีเพียงแอลลีลใด

แอลลีลหนึ่ง และครูเชื่อมโยงกฎการแยกกับการแบ่งเซลล์แบบไมโอซิสว่าสัมพันธ์กับระยะใดใน

การแบ่งเซลล์ และอาจให้นักเรียนเขียนแผนภาพแสดงกฎการแยก

ครูอาจชี้ให้นักเรียนเห็นว่าข้อมูลที่ได้จากการทดลองของเมนเดล มีการนำ�คณิตศาสตร์มาใช้ใน

การวิเคราะห์ข้อมูลจากการทดลองและใช้หลักความน่าจะเป็นในการอธิบาย และนำ�ไปสู่การอธิบาย

เกี่ยวกับการแยกของแอลลีลที่เข้าคู่กันไปยังเซลล์สืบพันธุ์ซึ่งจะมีโอกาสปรากฏในเซลล์สืบพันธุ์

ได้เท่าๆ กัน โดยในกรณีที่มีจีโนไทป์แบบฮอมอไซกัส เซลล์สืบพันธุ์ทั้งหมดจะมีแบบเดียว ส่วนในกรณี

มีจีโนไทป์แบบเฮเทอโรไซกัส เซลล์สืบพันธุ์จะมี 2 แบบ แต่ละแบบมีโอกาสเกิดเท่ากันคือ1/2 ดังรูป 5.1

นอกจากนี้ ครูอาจตั้งคำ�ถามกระตุ้นให้นักเรียนอยากทราบว่า อัตราส่วน 3 : 1 ในรุ่น F

2

ในการ

ทดลองของเมนเดลเกิดได้อย่างไร โดยอาจเชื่อมโยงกับกิจกรรมนอกเวลาเรียนในการโยนเหรียญ

2 เหรียญ เพื่อศึกษาความน่าจะเป็น ซึ่งได้ข้อสรุปว่า เมื่อโยนเหรียญ 2 เหรียญพร้อมกัน โอกาสที่จะ

เป็นไปได้มี 3 แบบ คือ ออกหัว 2 เหรียญ ออกหัวและออกก้อย และออกก้อยทั้ง 2 เหรียญ ในอัตราส่วน

1 : 2 : 1 เช่นเดียวกับการผสมพันธุ์ต้นถั่วลันเตาที่เป็นเฮเทอโรไซกัส จะมีโอกาสได้ลูกที่มีจีโนไทป์เป็น

ฮอมอไซกัสโดมิแนนท์ : เฮเทอโรไซกัส : ฮอมอไซกัสรีเซสสีฟ เท่ากับ 1 : 2 : 1 โดยจะมีฟีโนไทป์เป็น

ลักษณะเด่น : ลักษณะด้อย เท่ากับ 3 : 1

PP

Pp

1/2

P

1/2

P

1/2

P

1/2

p

รูป 5.1 กฎการแยก

จีโนไทป์แบบฮอมอไซกัส

จีโนไทป์แบบเฮเทอโรไซกัส

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

บทที่ 5 | การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม

ชีววิทยา เล่ม 2

59