ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับผลการทดลองในการผสมถั่วลันเตาดอกสีม่วงและ
ดอกสีขาวของเมนเดล ในรูป 5.2 ในหนังสือเรียน โดยครูอาจทบทวนเกี่ยวกับการถ่ายทอดลักษณะทาง
พันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตว่าสิ่งมีชีวิตที่มีโครโมโซมเป็น 2 ชุด ยีนแต่ละโลคัสบนฮอมอโลกัสโครโมโซม
จะมี 2 แอลลีล ซึ่งอาจมีรูปแบบเดียวกันหรือแตกต่างกัน โดยลูกจะได้รับแอลลีลหนึ่งมาจากพ่อและ
อีกแอลลีลมาจากแม่ ส่วนคำ�ถามในหนังสือมีแนวการตอบดังต่อไปนี้
เพราะเหตุใดถั่วลันเตาในรุ่น F
1
จึงไม่ปรากฏต้นที่มีดอกสีขาว
ยีนควบคุมลักษณะสีกลีบดอกถูกถ่ายทอดจากรุ่น P ไปยังรุ่น F
1
และไปยังรุ่น F
2
โดยลูกจะได้
รับแอลลีลหนึ่งจากพ่อและอีกแอลลีลจากแม่ ทั้งนี้ในรุ่น F
1
จะปรากฏต้นที่มีกลีบดอกสีม่วง
ซึ่งเป็นลักษณะเด่นทั้งหมด แม้ว่าจะมีแอลลีลด้อยควบคุมกลีบดอกสีขาวจากรุ่น P อยู่ แต่ไม่มี
การแสดงออก จึงทำ�ให้เกิดกลีบดอกสีม่วง
เพราะเหตุใดลักษณะที่ปรากฏในรุ่น F
2
จึงแตกต่างจากลักษณะที่ปรากฏในรุ่น F
1
ในรุ่น F
2
จะปรากฏทั้งต้นที่มีกลีบดอกสีม่วงและต้นที่มีกลีบดอกสีขาว ในอัตราส่วนประมาณ
3 : 1 เนื่องจากรุ่น F
1
เป็นลูกผสมจากแม่เด่นพันธุ์แท้และพ่อด้อยพันธุ์แท้ เมื่อนำ�รุ่น F
1
ที่เป็น
เฮเทอโรไซกัสมาผสมภายในดอกเดียวกันจึงปรากฏต้นที่มีกลีบดอกสีขาว
ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายผลการทดลองผสมพันธุ์ถั่วลันเตาจากตาราง 5.1 ในหนังสือเรียน
แล้วให้นักเรียนวิเคราะห์ในประเด็น ดังนี้
ผลการทดลองผสมพันธุ์ถั่วลันเตาทั้ง 7 ลักษณะสอดคล้องกันหรือไม่ อย่างไร
ลักษณะใดของต้นถั่วลันเตาเป็นลักษณะเด่น และลักษณะใดเป็นลักษณะด้อย
ถ้าผสมสลับลักษณะสีกลีบดอกของต้นพ่อและต้นแม่ ลักษณะของรุ่น F
1
และ F
2
จะเป็น
อย่างไร
ถ้าในรุ่น P ต้นพ่อหรือต้นแม่ไม่เป็นพันธุ์แท้ ลักษณะสีกลีบดอกของรุ่น F
1
และ F
2
จะเป็น
ดังตารางหรือไม่
จากการสืบค้นข้อมูลและการวิเคราะห์ นักเรียนควรสรุปได้ว่าผลการทดลองผสมพันธุ์ถั่วลันเตา
ทั้ง 7 ลักษณะสอดคล้องกันคือ รุ่น F
1
จะแสดงเฉพาะลักษณะของพ่อหรือแม่เพียงลักษณะเดียว
ที่เป็นลักษณะเด่น ส่วนลักษณะที่ถ่ายทอดไปยัง F
2
จะแสดงทั้งสองลักษณะของรุ่น P
ในอัตราส่วนลักษณะเด่น : ลักษณะด้อย โดยประมาณ 3 : 1 ลักษณะเด่น ได้แก่ ต้นสูง กลีบดอกสีม่วง
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 5 | การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม
ชีววิทยา เล่ม 2
55