Table of Contents Table of Contents
Previous Page  104 / 283 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 104 / 283 Next Page
Page Background

การวิเคราะห์ตัวชี้วัด

แนวทางการจัดการเรียนรู้

แนวทางการวัดและประเมินตัวชี้วัด

ด้านความรู้

เปรียบเทียบสมบัติการดูดซับน้ำ�ของวัสดุโดย

ใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ และระบุการนำ�สมบัติ

การดูดซับน้ำ�ของวัสดุไปประยุกต์ใช้ในการทำ�

วัตถุในชีวิตประจำ�วัน

ด้านความรู้

๑. เปรียบเทียบสมบัติการดูดซับน้ำ�ของวัสดุ

๒. ยกตัวอย่างการเลือกวัสดุไปใช้ประโยชน์ตามสมบัติ

การดูดซับน้ำ�

๑. ครูทบทวนความรู้เกี่ยวกับชนิดและสมบัติของวัสดุโดยอาจใช้คำ�ถามหรือ

สื่อต่าง ๆ

๒. ครูกระตุ้นให้นักเรียนเกิดข้อสงสัยและตั้งคำ�ถามเกี่ยวกับสมบัติการดูดซับ

น้ำ�ของวัสดุ เช่น ครูสร้างสถานการณ์ โดยหยดน้ำ�บนโต๊ะและให้นักเรียน

อภิปรายว่าควรเลือกใช้วัสดุที่มีสมบัติอย่างไรในการเช็ดน้ำ�ให้แห้ง

๓. ครูใช้คำ�ถามเพื่อให้นักเรียนวิเคราะห์วิธีการทดลองเพื่อเปรียบเทียบสมบัติ

การดูดซับน้ำ�ของวัสดุต่าง ๆ เช่น กระดาษเยื่อ กระดาษหนังสือพิมพ์

ผ้าฝ้าย พลาสติก และร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่จัดให้

แตกต่างกันในการทดลอง ได้แก่ ชนิดของวัสดุ สิ่งที่จัดให้เหมือนกัน เช่น

ขนาดและความหนาของวัสดุ ปริมาณน้ำ� เวลาที่ใช้ในการดูดซับน้ำ� ขนาด

และรูปร่างของภาชนะ สิ่งที่สังเกตตลอดการทดลองได้แก่ ปริมาณน้ำ�ที่

วัสดุแต่ละชนิดดูดซับ รวมทั้งระบุจุดประสงค์การทดลอง

94

ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒

มาตรฐาน ว ๒.๑ เข้าใจสมบัติของสสาร องค์ประกอบของสสาร ความสัมพันธ์ระหว่างสมบัติของสสารกับโครงสร้างและแรงยึดเหนี่ยว

ระหว่างอนุภาค หลักและธรรมชาติของการเปลี่ยนแปลงสถานะของสสาร การเกิดสารละลาย และการเกิดปฏิกิริยาเคมี

มาตรฐาน ว ๒.๓ เข้าใจความหมายของพลังงาน การเปลี่ยนแปลงและการถ่ายโอนพลังงาน ปฏิสัมพันธ์ระหว่างสสารและพลังงาน พลังงานใน

ชีวิตประจำ�วัน ธรรมชาติของคลื่น ปรากฏการณ์ที่เกี่ยวข้องกับเสียง แสง และคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า รวมทั้งนำ�ความรู้ไปใช้ประโยชน์

ตัวชี้วัด

๑. เปรียบเทียบสมบัติการดูดซับน้ำ�ของวัสดุโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ และระบุการนำ�สมบัติการดูดซับน้ำ�ของวัสดุ

ไปประยุกต์ใช้ในการทำ�วัตถุในชีวิตประจำ�วัน

สาระที่ ๒ วิทยาศาสตร์กายภาพ