Table of Contents Table of Contents
Previous Page  107 / 283 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 107 / 283 Next Page
Page Background

การวิเคราะห์ตัวชี้วัด

แนวทางการจัดการเรียนรู้

แนวทางการวัดและประเมินตัวชี้วัด

ด้านความรู้

อธิบายสมบัติที่สังเกตได้ของวัสดุที่เกิดจากการนำ�วัสดุ

มาผสมกัน

ด้านทักษะ

ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

๑. ประเมินทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล จาก

การนำ�ข้อมูลจากการสังเกตวัสดุที่ผสมกันมาระบุ

และอธิบายสมบัติที่สังเกตได้ของวัสดุที่ใช้ทำ�วัตถุ

พร้อมแสดงเหตุผลประกอบ

๒. ประเมินทักษะการตีความหมายข้อมูลและการลง

ข้อสรุปจากการตีความหมายจากการสังเกตเพื่อลง

ข้อสรุปว่าวัตถุอาจทำ�จากวัสดุหลายชนิดผสมกัน

สมบัติที่สังเกตได้ของวัสดุที่ได้จากการผสมอาจ

แตกต่างกันขึ้นอยู่กับชนิดและปริมาณของวัสดุที่นำ�

มาผสมกัน

ด้านความรู้

วัสดุบางอย่างสามารถนำ�มาผสมกันซึ่งทำ�ให้

ได้สมบัติที่เหมาะสมเพื่อนำ�ไปใช้ประโยชน์

ตามต้องการ เช่น แป้งผสมน้ำ�ตาลและน้ำ�กะทิ

ใช้ทำ�ขนมไทย ปูนปลาสเตอร์ผสมเยื่อกระดาษ

ใช้ทำ�กระปุกออมสิน ปูนผสมหิน ทราย และน้ำ�

ใช้ทำ�คอนกรีต

ด้านทักษะ

ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

๑. ทักษะการลงความเห็นจากข้อมูลโดยนำ�

ข้อมูลจากการสังเกตวัสดุที่ผสมกันและ

อธิบายสมบัติที่สังเกตได้ของวัสดุที่ได้จาก

การผสม

๒. ทักษะการตีความหมายข้อมูลและลงข้อสรุป

โดยการตีความหมายจากการสังเกตเพื่อลง

ข้อสรุป วัสดุที่เป็นส่วนผสมของวัตถุ

๑. ครูทบทวนความรู้เกี่ยวกับชนิดและสมบัติของวัสดุ

๒. ครูอภิปรายกับนักเรียนเกี่ยวกับวัสดุที่ใช้ทำ�ส่วนประกอบของวัตถุต่าง ๆ

จากสื่อต่าง ๆ เช่น รูปภาพ วีดิทัศน์

๓. ครูกระตุ้นให้นักเรียนเกิดข้อสงสัยและตั้งคำ�ถามเกี่ยวกับการทำ�วัตถุจาก

การนำ�วัสดุมาผสมกันด้วยวิธีการต่าง ๆ เพื่อนำ�ไปสู่การทำ�กิจกรรม

๔. นักเรียนปฏิบัติโดยการออกแบบวิธีการทำ�วัตถุ ๑ ชนิดโดยใช้ชนิด

ปริมาณของวัสดุที่เป็นส่วนผสมต่างกัน เช่น การทำ�ขนมไทยที่ทำ�จาก

แป้งผสมน้ำ�ตาลทราย ทำ�จากแป้งผสมน้ำ�ตาลทรายและน้ำ�กระทิโดยผสม

น้ำ�ตาลทรายและน้ำ�กะทิในปริมาณที่แตกต่างกัน กระปุกออมสินที่ทำ�จาก

ปูนปลาสเตอร์ผสมเยื่อกระดาษในปริมาณแตกต่างกัน กระถางต้นไม้จาก

เปเปอร์มาเช่ หรือครูอาจให้นักเรียนทำ�กิจกรรมตามวิธีการที่กำ�หนดไว้

ซึ่งมีการเปลี่ยนชนิดวัสดุ และปริมาณของส่วนผสม บันทึกผลและนำ�เสนอ

วิธีการออกแบบและผลการทำ�กิจกรรม

๕. ครูใช้คำ�ถามเพื่อให้นักเรียนร่วมกันอภิปรายโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์

และลงข้อสรุปว่าวัตถุอาจทำ�จากวัสดุหลายชนิดผสมกัน วัสดุที่ได้จากการ

ผสมมีสมบัติที่สังเกตได้แตกต่างกันขึ้นอยู่กับสมบัติและปริมาณของวัสดุที่

นำ�มาผสมกัน

๖. ครูและนักเรียนร่วมกันวิเคราะห์และอภิปรายตัวอย่างการเลือกใช้วัสดุที่

นำ�มาผสมกันในการทำ�วัตถุต่างๆ ในชีวิตประจำ�วัน เช่น การผสมคอนกรีต

การทำ�แหวนทองเหลือง การผสมสี การทำ�ขนม การทำ�อาหาร เพื่อนำ�ไป

สู่การร่วมกันอภิปรายและลงข้อสรุปว่าการเลือกใช้วัสดุมาทำ�วัตถุหรือ

สิ่งของนั้นต้องดูจากสมบัติและปริมาณของวัสดุที่นำ�มาผสม

97

วิทยาศาสตร์

ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒

ตัวชี้วัด

๒. อธิบายสมบัติที่สังเกตได้ของวัสดุที่เกิดจากการนำ�วัสดุมาผสมกัน โดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์