Table of Contents Table of Contents
Previous Page  111 / 283 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 111 / 283 Next Page
Page Background

การวิเคราะห์ตัวชี้วัด

แนวทางการจัดการเรียนรู้

แนวทางการวัดและประเมินตัวชี้วัด

ด้านความรู้

๑. แสงเคลื่อนที่จากแหล่งกำ�เนิดแสงในทุก

ทิศทางในลักษณะเป็นแนวตรง

๒. การมองเห็นวัตถุที่เป็นแหล่งกำ�เนิดแสง

แสงจากวัตถุนั้นจะเข้าสู่ตาโดยตรง ส่วน

การมอง เห็นวัตถุที่ไม่เป็นแหล่งกำ � เนิด

แสง ต้องมีแสงจากแหล่งกำ�เนิดแสงอื่นไป

ตกกระทบวัตถุแล้วสะท้อนเข้าตา

๓. การมองวัตถุที่สว่างมากอาจเกิดอันตราย

ต่อดวงตาได้ จึงต้องหลีกเลี่ยงการมอง

แหล่งกำ�เนิดแสงโดยตรง หรือใช้แผ่นกรองแสง

ที่มีคุณภาพเมื่อจำ�เป็น และต้องจัดความสว่าง

ให้เหมาะสมกับการทำ�กิจกรรมต่าง ๆ เช่น

การอ่านหนังสือ การดูจอโทรทัศน์ การใช้

โทรศัพท์เคลื่อนที่ และแท็บเล็ต

ด้านความรู้

๑. บรรยายแนวการเคลื่อนที่ของแสงจากแหล่งกำ�เนิดแสง

๒. อธิบายการมองเห็นวัตถุที่เป็นแหล่งกำ�เนิดแสงและ

วัตถุที่ไม่เป็นแหล่งกำ�เนิดแสง

๓. บอกอันตรายจากการมองวัตถุที่สว่างมาก และ

ยกตัวอย่างวิธีการป้องกันดวงตาจากแสงที่สว่างมาก

รวมทั้งยกตัวอย่างการจัดความสว่างให้เหมาะสมกับ

การทำ�กิจกรรมต่าง ๆ

๑. ครูกระตุ้นให้นักเรียนเกิดข้อสงสัยเกี่ยวกับแหล่งกำ�เนิดแสง โดย

อาจใช้วิธีซักถาม หรือใช้สื่อต่าง ๆ เช่น รูป หรือแหล่งกำ�เนิดแสงจริง

จากนั้นร่วมกันอภิปรายเพื่อลงข้อสรุปว่าวัตถุที่มีแสงในตัวเอง เรียกว่า

แหล่งกำ�เนิดแสง

๒. ครูกระตุ้นให้นักเรียนเกิดข้อสงสัยและตั้งคำ�ถามเกี่ยวกับการเคลื่อนที่

ของแสงจากแหล่งกำ�เนิดแสง โดยอาจใช้วิธีซักถาม หรือใช้สื่อต่างๆ เช่น

วีดิทัศน์ที่แสดงให้เห็นแหล่งกำ�เนิดแสงเพื่อนำ�ไปสู่การสังเกต

การเคลื่อนที่ของแสงจากแหล่งกำ�เนิดแสง

๓. นักเรียนปฏิบัติโดยใช้อุปกรณ์ที่มีแหล่งกำ�เนิดแสงที่สามารถมองเห็น

ลำ�แสงจากแหล่งกำ�เนิดแสงได้ทุกทิศทาง เช่น หลอดไฟฟ้า หรือสังเกต

วีดิทัศน์หรือภาพเหตุการณ์ที่มองเห็นลำ�แสงจากแหล่งกำ�เนิดแสง

เช่น การมองเห็นลำ�แสงจากดวงอาทิตย์ลอดผ่านช่อง สังเกตลักษณะ

การเคลื่อนที่ของแสงจากแหล่งกำ�เนิดแสง บันทึกผล สรุปผล และ

นำ�เสนอ

๔. นักเรียนร่วมกันอภิปรายโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์มาสนับสนุนเพื่อ

ให้ได้ข้อสรุปว่าแสงเคลื่อนที่จากแหล่งกำ�เนิดแสงทุกทิศทางในลักษณะ

เป็นแนวตรง

๕. ครูให้ความรู้เพิ่มเติมว่าลำ�แสงเล็ก ๆ เรียกว่ารังสีของแสง และใช้

หัวลูกศรแทนทิศทางการเคลื่อนที่ของแสง

101

วิทยาศาสตร์

ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒

ตัวชี้วัด

๕. บรรยายแนวการเคลื่อนที่ของแสงจากแหล่งกำ�เนิดแสง และอธิบายการมองเห็นวัตถุจากหลักฐานเชิงประจักษ์

๖. ตระหนักในคุณค่าของความรู้ของการมองเห็นโดยเสนอแนะแนวทางการป้องกันอันตรายจากการมองวัตถุที่อยู่ใน

บริเวณที่มีแสงสว่างไม่เหมาะสม