Table of Contents Table of Contents
Previous Page  114 / 283 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 114 / 283 Next Page
Page Background

การวิเคราะห์ตัวชี้วัด

แนวทางการจัดการเรียนรู้

แนวทางการวัดและประเมินตัวชี้วัด

ด้านความรู้

๑. ดินประกอบด้วยเศษหิน ซากพืชซากสัตว์

ผสมอยู่ในเนื้อดิน มีอากาศและน้ำ�แทรกอยู่

ตามช่องว่างในเนื้อดิน

๒. ดินจำ�แนกออกเป็น ๓ กลุ่ม ได้แก่ ดินร่วน

ดินเหนียว และดินทราย ตามลักษณะเนื้อ

ดินและการจับตัวของดินซึ่งมีผลต่อการอุ้ม

น้ำ�ที่แตกต่างกัน โดยดินร่วนเป็นดินที่มีเนื้อ

ดินนุ่มมือ จับตัวได้ปานกลาง โดยนำ�มาปั้น

เป็นก้อนได้แต่เมื่อแห้งจะแตกตัวออกบาง

ส่วน ดินเหนียวเป็นดินที่มีเนื้อดินละเอียด

เหนียวติดมือ จับตัวกันได้ดีมาก โดยนำ�มาปั้น

เป็นก้อนกลมได้และเมื่อแห้งเนื้อดินไม่แตก

ออกจากกัน ส่วนดินทรายเป็นดินที่มีเนื้อดิน

หยาบสากมือ ไม่จับตัวกัน จึงไม่สามารถปั้น

เป็นก้อนได้

ด้านความรู้

๑. ระบุส่วนประกอบของดินจากหลักฐานเชิงประจักษ์

๒. จำ�แนกชนิดของดินออกเป็น ดินร่วน ดินเหนียว และ

ดินทรายโดยใช้ลักษณะเนื้อดินและการจับตัวของ

ดินเป็นเกณฑ์

๓. จำ�แนกชนิดของดินออกเป็น ดินร่วน ดินเหนียว และ

ดินทรายโดยใช้ลักษณะเนื้อดินและการจับตัวของ

ดินเป็นเกณฑ์

๑. ครูกระตุ้นให้นักเรียนเกิดข้อสงสัยและตั้งคำ�ถามเกี่ยวกับส่วนประกอบของ

ดิน โดยอาจใช้วิธีซักถามหรือใช้สื่อต่างๆ เช่น ตัวอย่างดิน รูปภาพ วีดิทัศน์

ข่าวหรือสถานการณ์ที่เกี่ยวกับดิน เพื่อนำ�ไปสู่การสังเกต

๒. นักเรียนสังเกตส่วนประกอบของดินจากแหล่งต่าง ๆ รวบรวมข้อมูล และ

บันทึกผล

๓. นักเรียนนำ�ข้อมูลของแต่ละกลุ่มมาจัดกระทำ�ในรูปแบบที่เหมาะสม เช่น

ตาราง แผนภาพ และนำ�เสนอในรูปแบบที่น่าสนใจ

๔. นักเรียนร่วมกันอภิปรายเพื่อลงข้อสรุปว่า ดินแต่ละแหล่งมีส่วนประกอบ

เหมือนกัน คือ เศษหิน ซากพืชซากสัตว์ น้ำ�และอากาศ

๕. ครูกระตุ้นให้นักเรียนเกิดข้อสงสัย และตั้งคำ�ถามใหม่เกี่ยวกับลักษณะ

ของเนื้อดินและการจับตัวของดิน โดยอาจใช้วิธีซักถาม หรือใช้สื่อต่าง ๆ

เช่น ตัวอย่างดิน หรือรูปภาพดินในท้องถิ่น เพื่อนำ�ไปสู่การสังเกตลักษณะ

เนื้อดิน และการจับตัวของดิน

๖. นักเรียนสังเกตลักษณะเนื้อดิน และการจับตัวของดิน จากตัวอย่างดิน

ในท้องถิ่น รวบรวมข้อมูล และบันทึกผล

104

ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒

มาตรฐาน ว ๓.๒ เข้าใจองค์ประกอบ และความสัมพันธ์ของระบบโลก กระบวนการเปลี่ยนแปลงภายในโลกและบนผิวโลก ธรณีพิบัติภัย

กระบวนการเปลี่ยนแปลงลมฟ้าอากาศและภูมิอากาศโลก รวมทั้งผลต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม

ตัวชี้วัด

๑. ระบุส่วนประกอบของดิน และจำ�แนกชนิดของดินโดยใช้ลักษณะเนื้อดินและการจับตัวเป็นเกณฑ์

สาระที่ ๓ วิทยาศาสตร์โลก และอวกาศ