การวิเคราะห์ตัวชี้วัด
แนวทางการจัดการเรียนรู้
แนวทางการวัดและประเมินตัวชี้วัด
ด้านความรู้
ความแข็งของวัสดุคือความทนทานของวัสดุต่อ
การขูดขีด วัสดุแต่ละชนิดมีความแข็งแตกต่าง
กัน เมื่อนำ�วัสดุชนิดหนึ่งมาขูดขีดบนวัสดุอีกชนิด
หนึ่งแล้วเกิดรอย วัสดุที่เกิดรอยมีความแข็งน้อย
กว่าวัสดุที่ไม่เกิดรอย วัสดุที่มีความแข็งแตกต่าง
กันจึงนำ�มาใช้ประโยชน์ได้แตกต่างกัน
ด้านความรู้
๑. อธิบายความแข็งของวัสดุ
๒. เปรียบเทียบความแข็งของวัสดุ
๓. ยกตัวอย่างการนำ�วัสดุไปใช้ประโยชน์โดยใช้สมบัติ
ความแข็งของวัสดุ
ความแข็งของวัสดุ
๑. ครูทบทวนความรู้เกี่ยวกับสมบัติของวัสดุที่ได้เรียนมาแล้ว เช่น
การดูดซับน้ำ� ยืดได้ ยืดไม่ได้ ลักษณะผิวสัมผัส และอภิปรายสมบัติอีก
ประการคือการขูดขีดแล้วเป็นรอย โดยอาจใช้คำ�ถามหรือสถานการณ์ เช่น
วัสดุที่ใช้ทำ�หน้าปัดนาฬิกา หน้าจอโทรศัพท์เคลื่อนที่ เลนส์แว่นตาควรมี
สมบัติเป็นอย่างไรจึงจะขูดขีดแล้วไม่เกิดรอย
๒. ครูสาธิตโดยการนำ�วัสดุ ๒ ชนิด มาขูดขีดกัน ใช้คำ�ถามเพื่อให้นักเรียนร่วม
กันอภิปรายเกี่ยวกับความหมายของความแข็งของวัสดุ และลงข้อสรุปว่า
ความแข็งของวัสดุคือความทนทานของวัสดุต่อการขูดขีด
156
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔
สาระที่ ๒ วิทยาศาสตร์กายภาพ
มาตรฐาน ว ๒.๑ เข้าใจสมบัติของสสาร องค์ประกอบของสสาร ความสัมพันธ์ระหว่างสมบัติของสสารกับโครงสร้างและแรงยึดเหนี่ยว
ระหว่างอนุภาค หลักและธรรมชาติของการเปลี่ยนแปลงสถานะของสสาร การเกิดสารละลาย และการเกิดปฏิกิริยาเคมี
มาตรฐาน ว ๒.๒ เข้าใจธรรมชาติของแรงในชีวิตประจำ�วัน ผลของแรงที่กระทำ�ต่อวัตถุ ลักษณะการเคลื่อนที่แบบต่างๆ ของวัตถุ รวมทั้งนำ�ความรู้ไปใช้ประโยชน์
มาตรฐาน ว ๒.๓ เข้าใจความหมายของพลังงาน การเปลี่ยนแปลงและการถ่ายโอนพลังงาน ปฏิสัมพันธ์ระหว่างสสารและพลังงาน พลังงานใน
ชีวิตประจำ�วัน ธรรมชาติของคลื่น ปรากฏการณ์ที่เกี่ยวข้องกับเสียง แสง และคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า รวมทั้งนำ�ความรู้ไปใช้ประโยชน์
ตัวชี้วัด
๑. เปรียบเทียบสมบัติทางกายภาพด้านความแข็ง สภาพยืดหยุ่น การนำ�ความร้อน และการนำ�ไฟฟ้าของวัสดุโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์จากการทดลองและ
ระบุการนำ�สมบัติเรื่องความแข็ง สภาพยืดหยุ่น การนำ�ความร้อน และการนำ�ไฟฟ้าของวัสดุไปใช้ในชีวิตประจำ�วัน ผ่านกระบวนการออกแบบชิ้นงาน
๒. แลกเปลี่ยนความคิดกับผู้อื่นโดยการอภิปรายเกี่ยวกับสมบัติทางกายภาพอย่างมีเหตุผลจากการทดลอง