Table of Contents Table of Contents
Previous Page  167 / 283 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 167 / 283 Next Page
Page Background

การวิเคราะห์ตัวชี้วัด

แนวทางการจัดการเรียนรู้

แนวทางการวัดและประเมินตัวชี้วัด

๓. ครูกระตุ้นให้นักเรียนเกิดข้อสงสัยโดยนำ�วัสดุต่าง ๆ ที่มีความแข็ง

แตกต่างกัน เช่น กระจก เหล็ก อะลูมิเนียม ไม้ และให้นักเรียนสังเกต

และตั้งคำ�ถามเกี่ยวกับวิธีการตรวจสอบและเปรียบเทียบความแข็งของ

วัสดุเหล่านี้ เพื่อนำ�ไปสู่การทดลอง

๔. นักเรียนออกแบบวิธีการทดลองเพื่อเปรียบเทียบความแข็งของวัสดุที่ครู

กำ�หนด เช่น กระจก เหล็ก อะลูมิเนียม พลาสติก และระบุจุดประสงค์ของ

การทดลอง ตั้งสมมติฐาน ระบุตัวแปร กำ�หนดนิยามเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับ

การสังเกตการเกิดรอย และออกแบบตารางบันทึกผลการทดลองใน

รายงานการทดลองโดยใช้ซอฟต์แวร์ประยุกต์ ทั้งนี้ครูควรให้ความรู้เพิ่ม

เติมหรือทบทวนเกี่ยวกับตัวแปรต้น ตัวแปรตามและตัวแปรที่ต้องควบคุม

ให้คงที่ การตั้งสมมติฐาน การกำ�หนดนิยามเชิงปฏิบัติการ

๕. นักเรียนทำ�การทดลองตามที่ออกแบบไว้ บันทึกผลการทดลอง แปล

ความหมายข้อมูล ตรวจสอบสมมติฐาน และสรุปผลการทดลอง

๖. นักเรียนนำ�เสนอผลการทดลองโดยใช้ซอฟต์แวร์ประยุกต์ และครูตั้ง

คำ�ถามเพื่อให้นักเรียนร่วมกันอภิปรายโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ซึ่ง

ได้แก่ ผลการทดลองของนักเรียนและลงข้อสรุปว่า วัสดุแต่ละชนิดมี

ความแข็งแตกต่างกัน เมื่อนำ�วัสดุชนิดหนึ่งมาขูดขีดบนวัสดุอีกชนิดหนึ่ง

แล้วเกิดรอย วัสดุที่เกิดรอยมีความแข็งน้อยกว่าวัสดุที่ไม่เกิดรอย

๗. ครูให้นักเรียนสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับการนำ�สมบัติความแข็งไปใช้ประโยชน์

จากสื่อต่างๆ เช่น รูปภาพ วีดิทัศน์เกี่ยวกับอุปกรณ์ที่นำ�มาตัดกระจกหรือ

หินอ่อน การแกะสลักไม้ การเจียรนัยพลอย การขุดเจาะน้ำ�มัน การเลือก

ใช้วัสดุปูพื้นหรือผนัง แล้วนำ�มาวิเคราะห์ว่า การใช้ประโยชน์ดังกล่าว

เกี่ยวกับความแข็งของวัสดุชนิดต่างๆ อย่างไร บันทึกผลการวิเคราะห์และ

นำ�เสนอ

๘. ครูและนักเรียนร่วมกันตรวจสอบผลการวิเคราะห์และปรับปรุงแก้ไข

ให้ถูกต้อง

ด้านทักษะ

ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

๑. ประเมินทักษะการจัดกระทำ�และสื่อความหมาย

ข้อมูลจากการนำ�ข้อมูลที่ได้จากการสังเกตมา

นำ�เสนอในรูปแบบของตารางบันทึกผลได้ครบถ้วน

และถูกต้อง

๒. ประเมินทักษะการลงความเห็นจากข้อมูลจากการนำ�

ข้อมูลจากการสังเกตมาอธิบายและเปรียบเทียบ

ความแข็งของวัสดุพร้อมแสดงเหตุผลประกอบ

๓. ประเมินทักษะการตั้งสมมติฐาน จากการตั้ง

สมมติฐานได้ว่าวัสดุชนิดใดมีความแข็งมากกว่ากัน

๔. ประเมินทักษะการกำ�หนดนิยามเชิงปฏิบัติจากการ

ระบุวิธีสังเกต ความแข็งของวัสดุได้

๕. ประเมินทักษะการกำ�หนดและควบคุมตัวแปรจาก

การระบุได้ว่าสิ่งใดเป็นตัวแปรต้น สิ่งใดเป็นตัวแปร

ตาม และสิ่งใดเป็นตัวแปรที่ต้องควบคุมให้คงที่ ได้

ถูกต้อง ครบถ้วน

๖. ประเมินทักษะการทดลองจากการออกแบบการ

ทดลองและลงมือปฏิบัติได้ตามขั้นตอนการทดลอง

และบันทึกข้อมูลผลการทดลองในตารางบันทึกผล

เรื่องความแข็งของวัสดุได้ครบถ้วนถูกต้อง

๗. ประเมินทักษะการตีความหมายข้อมูลและลงข้อสรุป

จากการตีความหมายจากข้อมูลที่นำ�เสนอ แล้ว

อภิปรายเพื่อลงข้อสรุปสมบัติความแข็งของวัสดุได้

ครบถ้วนถูกต้อง

ด้านทักษะ

ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

๑. ทักษะการจัดกระทำ�และสื่อความหมาย

ข้อมูลโดยการนำ�ข้อมูลที่ได้จากการสังเกตมา

นำ�เสนอในรูปแบบของตารางบันทึกผล

๒. ทักษะการลงความเห็นจากข้อมูลโดยการนำ�

ข้อมูลจากการสังเกตมาอธิบายและเปรียบ

เทียบความแข็งของวัสดุ

๓. ทักษะการตั้งสมมติฐาน โดยการตั้งสมมติฐาน

การทดลองเรื่องความแข็งของวัสดุ

๔. ทักษะการกำ�หนดนิยามเชิงปฏิบัติการโดยการ

กำ�หนดวิธีสังเกตความแข็งของวัสดุ

๕. ทักษะการกำ�หนดและควบคุมตัวแปรโดย

การกำ�หนดตัวแปรต้น ตัวแปรตาม และ

ตัวแปรที่ต้องควบคุมให้คงที่ในการทดลอง

เรื่องความแข็งของวัสดุ

๖. ทักษะการทดลอง โดยปฏิบัติการทดลอง และ

ออกแบบตารางบันทึกผลการทดลองเรื่อง

ความแข็งของวัสดุเพื่อทดสอบสมมติฐาน

ที่ระบุไว้

๗. ทักษะการตีความหมายข้อมูลและลงข้อสรุป

โดยการตีความหมายจากข้อมูลที่นำ�เสนอ

แล้วอภิปรายเพื่อลงข้อสรุปสมบัติความแข็ง

ของวัสดุ

157

วิทยาศาสตร์

ประถมศึกษาปีที่ ๔