การวิเคราะห์ตัวชี้วัด
แนวทางการจัดการเรียนรู้
แนวทางการวัดและประเมินตัวชี้วัด
ด้านความรู้
การนำ�ความร้อนของวัสดุเป็นการถ่ายโอน -
ความร้อนของวัสดุที่เป็นของแข็งจากบริเวณที่มี
อุณหภูมิสูงกว่าไปยังบริเวณที่มีอุณหภูมิต่ำ�กว่า
วัสดุแต่ละชนิดมีการนำ�ความร้อนแตกต่างกัน
วัสดุที่นำ�ความร้อนได้ เรียกว่า ตัวนำ�ความร้อน
ส่วนวัสดุที่ไม่นำ�ความร้อนหรือนำ�ความร้อนได้ไม่
ดี เรียกว่าฉนวนความร้อน วัสดุแต่ละชนิดสามารถ
นำ�ไปใช้ประโยชน์ได้แตกต่างกันตามสมบัติการนำ�
ความร้อนของวัสดุนั้น
ด้านทักษะ
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
๑. ทักษะกา รลงคว าม เ ห็นจากข้อมูล โ ดย
การนำ�ข้อมูลโดยการสังเกตมาอธิบายและ
เปรียบเทียบการนำ�ความร้อนของวัสดุ
๒. ทักษะการตั้งสมมติฐาน โดยการตั้งสมมติฐาน
การทดลองเกี่ยวกับการนำ�ความร้อนของวัสดุ
๓. ทักษะการกำ �หนดนิยามเชิงปฏิบัติการ
โดยการกำ�หนดวิธีการสังเกตหรือวัดการ
เปลี่ยนแปลงความร้อนหรืออุณหภูมิของวัสดุ
๔. ทักษะการกำ�หนดและควบคุมตัวแปรโดย
กำ�หนดตัวแปรต้น ตัวแปรตาม และตัวแปรที่
ต้องควบคุมให้คงที่ในการทดลองเรื่องการนำ�
ความร้อนของวัสดุ
ด้านความรู้
๑. อธิบายการนำ�ความร้อนของวัสดุ
๒. เปรียบเทียบการนำ�ความร้อนของวัสดุ
๓. ยกตัวอย่างการนำ�สมบัติการนำ�ความร้อนไปใช้
ประโยชน์
ด้านทักษะ
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
๑. ประเมินทักษะการลงความเห็นจากข้อมูลจาก
การนำ �ข้อมูลจากการสัง เ กตมาอธิบายและ
เปรียบเทียบการนำ�ความร้อนของวัสดุพร้อม
แสดงเหตุผลประกอบ
๒. ป ร ะ เ มินทั ก ษ ะ ก า ร ตั้ ง ส ม ม ติ ฐ า น จ า ก ก า ร
ตั้งสมมติฐานได้ว่าวัสดุใดนำ�ความร้อนได้ดีกว่ากัน
๓. ประเมินทักษะการกำ�หนดนิยามเชิงปฏิบัติการจาก
การกำ�หนดวิธีการสังเกตหรือวัดการเปลี่ยนแปลง
ความร้อนหรืออุณหภูมิของวัสดุได้ถูกต้อง
๔. ประเมินทักษะการกำ�หนดและควบคุมตัวแปร
จากการระบุว่าสิ่งใดเป็นตัวแปรต้น สิ่งใดเป็น
ตัวแปรตาม และสิ่งใดเป็นตัวแปรที่ต้องควบคุมให้
คงที่ได้ครบถ้วนและถูกต้อง
การนำ�ความร้อนของวัสดุ
๑. ครูอาจใช้คำ�ถามเพื่อกระตุ้นให้นักเรียนสงสัยเกี่ยวกับการเคลื่อนที่ของ
ความร้อน โดยใช้สื่อต่าง ๆ หรือการสาธิต เช่น การใช้ช้อนอะลูมิเนียม
คนน้ำ�ร้อน นักเรียนสังเกตการเปลี่ยนแปลงความร้อนบริเวณด้ามช้อน
เพื่อนำ�ไปสู่การอภิปรายและลงข้อสรุปว่าความร้อนเคลื่อนที่จากบริเวณ
ที่มีอุณหภูมิสูงกว่าไปยังบริเวณที่มีอุณหภูมิต่ำ�กว่า เรียกว่า การถ่ายโอน
ความร้อน โดยการถ่ายโอนความร้อนผ่านวัสดุที่เป็นของแข็ง เรียกว่า
การนำ�ความร้อนของวัสดุ
๒. ครูกระตุ้นให้นักเรียนเกิดข้อสงสัยโดยนำ�วัสดุต่าง ๆ ที่เป็นทั้ง
ฉนวนความร้อนและตัวนำ�ความร้อน เช่น ทองแดง เหล็ก กระจก
อะลูมิเนียม ไม้ และให้นักเรียนสังเกตและตั้งคำ�ถามเกี่ยวกับวิธี
การตรวจสอบและเปรียบเทียบการนำ�ความร้อนของวัสดุเหล่านี้ เพื่อนำ�
ไปสู่การทดลอง
๓. นักเรียนออกแบบการทดลองเพื่อตรวจสอบและเปรียบเทียบสมบัติ
การนำ�ความร้อนของวัสดุจากวัสดุอุปกรณ์ที่กำ�หนดให้ โดยกำ�หนด
จุดประสงค์ของการทดลอง ตั้งสมมติฐานการทดลอง ระบุตัวแปร กำ�หนด
นิยามเชิงปฏิบัติการ และออกแบบตารางการบันทึกผลลงในรายงาน
การทดลอง
๔. นักเรียนลงมือปฏิบัติตามวิธีการทดลองที่ออกแบบไว้ สังเกตและออกแบบ
ตารางบันทึกผลการทดลองในรายงานการทดลองโดยใช้ซอฟต์แวร์
ประยุกต์ ตรวจสอบสมมติฐาน สรุปผลการทดลอง และนำ�เสนอ
๕. นักเรียนนำ�เสนอผลการทดลองโดยใช้ซอฟต์แวร์ประยุกต์ ครูใช้หลักฐาน
เชิงประจักษ์ซึ่งได้แก่ผลการทดลองของนักเรียนทั้งชั้นและใช้คำ�ถามเพื่อ
ให้นักเรียนร่วมกันอภิปรายและลงข้อสรุปว่าวัสดุชนิดต่างๆ นำ�ความร้อน
ได้แตกต่างกัน
161
วิทยาศาสตร์
ประถมศึกษาปีที่ ๔