Table of Contents Table of Contents
Previous Page  177 / 283 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 177 / 283 Next Page
Page Background

การวิเคราะห์ตัวชี้วัด

แนวทางการจัดการเรียนรู้

แนวทางการวัดและประเมินตัวชี้วัด

ตัวชี้วัด

๕. ระบุผลของแรงโน้มถ่วงที่มีต่อวัตถุจากหลักฐานเชิงประจักษ์

๖. ใช้เครื่องชั่งสปริงในการวัดน้ำ�หนักของวัตถุ

ด้านความรู้

๑. แรงโน้มถ่วงเป็นแรงดึงดูดที่โลกกระทำ�ต่อ

วัตถุ โดยไม่ต้องสัมผัสกับวัตถุนั้น ทำ�ให้วัตถุ

มีน้ำ�หนักและตกสู่พื้นโลก

๒. น้ำ�หนักมีหน่วยเป็นนิวตัน วัตถุที่มีมวลมาก

จะมีน้ำ�หนักมาก วัตถุที่มีมวลน้อยจะมี

น้ำ�หนักน้อย

๓. น้ำ�หนักของวัตถุวัดได้จากเครื่องชั่งสปริง

ด้านความรู้

๑. ระบุผลของแรงโน้มถ่วงของโลกที่กระทำ�ต่อวัตถุ

๒. บอกความสัมพันธ์ระหว่างมวลของวัตถุกับน้ำ�หนัก

ของวัตถุ

๓. อธิบายการใช้เครื่องชั่งสปริงในการวัดน้ำ�หนัก

ของวัตถุ

๑. ครูกระตุ้นให้นักเรียนเกิดข้อสงสัยและตั้งคำ�ถามเกี่ยวกับการตกของวัตถุ

และสาเหตุที่ทำ�ให้วัตถุตกลงสู่พื้นโลก โดยอาจใช้การซักถาม กิจกรรม

สาธิต หรือสื่อต่าง ๆ เช่น วีดิทัศน์แสดงการตกอย่างอิสระของวัตถุ เพื่อ

นำ�ไปสู่การทำ�กิจกรรมเพื่อสังเกตการเปลี่ยนแปลงการเคลื่อนที่ของวัตถุ

เมื่อปล่อยวัตถุให้ตกในแนวดิ่งอย่างอิสระตั้งแต่วัตถุเริ่มเคลื่อนที่จนหยุด

๒. นักเรียนพยากรณ์สิ่งที่จะเกิดขึ้นเมื่อปล่อยวัตถุให้ตกอย่างอิสระและปฏิบัติ

โดยการสังเกตและบันทึกเส้นทางการเคลื่อนที่ของวัตถุแต่ละชนิด สรุปผล

การทำ�กิจกรรม และนำ�เสนอ

๓. นักเรียนร่วมกันอภิปรายโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์มาสนับสนุนเพื่อให้ได้

ข้อสรุปว่า เมื่อปล่อยวัตถุทุกชนิดให้ตกในแนวดิ่งอย่างอิสระ เส้นทางการ

เคลื่อนที่ของวัตถุแต่ละชนิดอาจจะเหมือนหรือแตกต่างกัน แต่วัตถุทุกชนิด

จะตกสู่พื้นโลกเสมอ เป็นผลมาจากการมีแรงมากระทำ�ต่อวัตถุ

๔. ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับแรงที่ทำ�ให้วัตถุตกลงสู่พื้นโลก

เพื่อให้ได้ข้อสรุปว่าแรงที่ทำ�ให้วัตถุตกอย่างอิสระคือ แรงที่โลกดึงดูดวัตถุ

ลงสู่พื้นโลก เรียกว่าแรงโน้มถ่วงของโลก แรงโน้มถ่วงของโลกมีทิศทางเข้า

สู่ศูนย์กลางโลกและเป็นแรงไม่สัมผัส แรงโน้มถ่วงของโลกที่กระทำ�กับวัตถุ

ทำ�ให้วัตถุมีน้ำ�หนัก

ด้านทักษะ

ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

๑. ทักษะการสังเกต โดยบรรยายลักษณะและ

เส้นทางการเปลี่ยนแปลงการเคลื่อนที่ของ

วัตถุเมื่อปล่อยวัตถุให้ตกในแนวดิ่งอย่าง

อิสระ

๒. ทักษะการวัด โดยการใช้เครื่องชั่งสปริง

ชั่งน้ำ�หนักของวัตถุต่าง ๆ พร้อมระบุหน่วย

ของน้ำ�หนัก

๓. ทักษะการจัดกระทำ�และสื่อความหมาย

ข้อมูล โดยการนำ�เสนอข้อมูลเกี่ยวกับ

แรงโน้มถ่วงของโลกและมวลของวัตถุ ด้วย

รูปแบบหรือวิธีการต่าง ๆ

ด้านทักษะ

ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

๑. ประเมินทักษะการสังเกต จากการบันทึกรายละเอียด

ลักษณะและเส้นทางการเปลี่ยนแปลงการเคลื่อนที่

ของวัตถุเมื่อปล่อยวัตถุให้ตกในแนวดิ่งอย่างอิสระ

ตามความเป็นจริง โดยไม่เพิ่มความคิดเห็นส่วนตัว

๒. ประเมินทักษะการวัด จากการใช้เครื่องชั่งสปริงและ

การระบุหน่วยของน้ำ�หนักได้อย่างถูกต้อง

๓. ประเมินทักษะการจัดกระทำ�และสื่อความหมาย

ข้อมูล จากการนำ�เสนอข้อมูลเกี่ยวกับแรงโน้มถ่วง

ของโลกและมวลของวัตถุ ด้วยรูปแบบหรือวิธีการที่

เข้าใจง่าย น่าสนใจ

167

วิทยาศาสตร์

ประถมศึกษาปีที่ ๔