Table of Contents Table of Contents
Previous Page  178 / 283 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 178 / 283 Next Page
Page Background

การวิเคราะห์ตัวชี้วัด

แนวทางการจัดการเรียนรู้

แนวทางการวัดและประเมินตัวชี้วัด

๔. ทักษะการพยากรณ์ โดยคาดการณ์และให้

เหตุผลสิ่งที่จะเกิดขึ้นเมื่อปล่อยวัตถุให้ตก

อย่างอิสระ

๕. ทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล โดย

อภิปรายและ เชื่อมโยงความรู้ เกี่ยวกับ

แรง โน้มถ่วงของ โลกและมวลของวัตถุ

กับข้อมูลที่ได้จากการปฏิบัติกิจกรรมมา

อธิบายการตกอย่างอิสระของวัตถุ และใช้

ข้อมูลในตารางจากการชั่งน้ำ�หนักของวัตถุ

มวลต่าง ๆ มาอธิบายความสัมพันธ์ของมวล

และน้ำ�หนัก

๖. ทักษะการตีความหมายข้อมูลและการ

ลงข้อสรุป โดยวิเคราะห์และแปลความหมาย

ข้อมูลที่บันทึกได้จากกสังเกตและการสืบค้น

ข้อมูลเพื่อลงข้อสรุปเกี่ยวกับแรงโน้มถ่วง

ของโลก การวัดน้ำ�หนักของวัตถุ ความสัมพันธ์

ระหว่างมวลของวัตถุกับน้ำ�หนักของวัตถุ

ทักษะแห่งศตวรรษที่ ๒๑

๑. ทักษะด้านความร่วมมือและการทำ�งาน

เป็นทีม โดยมีส่วนร่วมในการปฏิบัติกิจกรรม

แลกเปลี่ยนผลการสังเกต สืบค้นข้อมูล และ

อภิปรายเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างมวล

ของวัตถุกับน้ำ�หนักของวัตถุ และการวัด

น้ำ�หนักของวัตถุโดยใช้เครื่องชั่งสปริง

๔. ประเมินทักษะการพยากรณ์ จากการบันทึกการ

คาดการณ์และให้เหตุผลสิ่งที่จะเกิดขึ้นเมื่อปล่อย

วัตถุให้ตกอย่างอิสระได้อย่างสมเหตุสมผล

๕. ประเมินทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล จาก

การเชื่อมโยงความรู้ในเรื่องแรงโน้มถ่วงของโลกและ

มวลของวัตถุกับข้อมูลที่ได้จากการปฏิบัติกิจกรรม

มาลงความเห็นเกี่ยวกับการตกอย่างอิสระของวัตถุ

และใช้ข้อมูลในตารางจากการชั่งน้ำ�หนักของวัตถุที่

มีมวลต่าง ๆ มาลงความเห็นเกี่ยวกับความสัมพันธ์

ของมวลและน้ำ�หนักได้อย่างสมเหตุสมผล

๖. ประเมินทักษะการตีความหมายข้อมูลและการ

ลงข้อสรุป จากการทำ�ความเข้าใจข้อมูลที่บันทึกได้

จากการสังเกตและการสืบค้นข้อมูล เพื่อลงข้อสรุป

เกี่ยวกับแรงโน้มถ่วงของโลก การวัดน้ำ�หนักของวัตถุ

ความสัมพันธ์ระหว่างมวลของวัตถุกับน้ำ�หนักของ

วัตถุได้ถูกต้อง

ทักษะแห่งศตวรรษที่ ๒๑

๑. ประเมินทักษะด้านความร่วมมือและการทำ�งาน

เป็นทีม จากการมีส่วนร่วมในการวางแผนและ

การปฏิบัติกิจกรรม การสืบค้นข้อมูล การอภิปราย

เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างมวลของวัตถุกับ

น้ำ�หนักของวัตถุ และการวัดน้ำ�หนักของวัตถุโดยใช้

เครื่องชั่งสปริงร่วมกับผู้อื่น ตั้งแต่เริ่มต้นจนสำ�เร็จ

ลุล่วง

๕. ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายการวัดน้ำ�หนักของวัตถุ เพื่อให้ได้

ข้อสรุปว่าการวัดน้ำ�หนักของวัตถุทำ�ได้โดยการใช้อุปกรณ์วัดน้ำ�หนัก เช่น

เครื่องชั่งสปริง หน่วยของน้ำ�หนักเป็นนิวตัน จากนั้นนักเรียนสืบค้น

วิธีการใช้เครื่องชั่งสปริงจากสื่อต่าง ๆ เช่น อินเทอร์เน็ต และนำ�เสนอด้วย

วิธีการต่างๆ เช่น การสาธิต การทำ�แบบจำ�ลอง หรือใช้ซอฟต์แวร์ประยุกต์

๖. ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายเพื่อให้ได้ข้อสรุปเกี่ยวกับขั้นตอนการใช้

เครื่องชั่งสปริงและการอ่านค่าที่วัดได้จากเครื่องชั่งสปริง

๗. นักเรียนตั้งคำ�ถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างมวลและน้ำ�หนัก

ของวัตถุ เพื่อนำ�ไปสู่การทำ�กิจกรรมเพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างมวลของ

วัตถุและน้ำ�หนักของวัตถุ

๘. นักเรียนปฏิบัติโดยชั่งน้ำ�หนักของวัตถุที่มีมวลต่างกัน โดยใช้เครื่องชั่งสปริง

ออกแบบตารางบันทึกผล บันทึกผล วิเคราะห์ และแปลความหมายข้อมูล

นำ�เสนอ

๙. นักเรียนร่วมกันอภิปรายโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์มาสนับสนุนเพื่อให้

ได้ข้อสรุปว่าวัตถุที่มีมวลต่างกันจะมีน้ำ�หนักต่างกัน โดยวัตถุที่มีมวลมาก

จะมีน้ำ�หนักมาก และวัตถุที่มีมวลน้อยจะมีน้ำ�หนักน้อย

168