Table of Contents Table of Contents
Previous Page  184 / 283 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 184 / 283 Next Page
Page Background

การวิเคราะห์ตัวชี้วัด

แนวทางการจัดการเรียนรู้

แนวทางการวัดและประเมินตัวชี้วัด

ด้านความรู้

ดวงจันทร์เป็นบริวารของโลก โดยดวงจันทร์หมุน

รอบตัวเองขณะโคจรรอบโลก การหมุนรอบตัวเอง

ของโลกจากทิศตะวันตกไปทิศตะวันออกหรือ

ทิศทางทวนเข็มนาฬิกาเมื่อมองจากบริเวณ

เหนือขั้วโลกเหนือ จะทำ�ให้มองเห็นดวงจันทร์

ปรากฏขึ้นทางขอบฟ้าด้านตะวันออกและตก

ทางขอบฟ้าด้านตะวันตก ปรากฏการณ์ดังกล่าว

เกิดขึ้นซ้ำ�ๆ เป็นแบบรูป

ด้านทักษะ

ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

๑. ทักษะการสังเกต โดยการสังเกตเส้นทาง

การขึ้นและตกของดวงจันทร์บนท้องฟ้า

๑. ครูกระตุ้นให้นักเรียนเกิดข้อสงสัยและตั้งคำ�ถามเกี่ยวกับการขึ้นและตก

ของดวงจันทร์ โดยอาจใช้สถานการณ์ หรือคำ�ถาม หรือสื่อต่าง ๆ เช่น

วีดิทัศน์ ภาพเคลื่อนไหว เพื่อนำ�ไปสู่การสังเกต

๒. นักเรียนสังเกตเส้นทางการขึ้นและตกของดวงจันทร์บนท้องฟ้า จาก

วีดิทัศน์หรือแบบจำ�ลอง โดยบันทึกการเริ่มปรากฏของดวงอาทิตย์จาก

ขอบฟ้า การผ่านตำ�แหน่งสูงสุดบนท้องฟ้า และการลับขอบฟ้า บันทึกผล

จากนั้นร่วมกันอภิปราย

๓. ครูให้นักเรียนสังเกตเส้นทางการขึ้นและตกของดวงจันทร์แต่ละวัน เป็น

เวลาอย่างน้อย ๓ วัน บันทึกผล ในรูปของตารางหรือโดยการวาดภาพ และ

นำ�เสนอ

๔. ครูกระตุ้นให้นักเรียนเกิดข้อสงสัยเกี่ยวกับสาเหตุที่ทำ�ให้มองเห็น

เส้นทางการขึ้นและตกของดวงจันทร์บนท้องฟ้า เพื่อรวบรวมหลักฐาน

เชิงประจักษ์และสืบค้นข้อมูล จากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ เช่น เว็บไซต์ที่

น่าเชื่อถือ และโปรแกรมทางดาราศาสตร์

ด้านความรู้

อธิบายแบบรูปเส้นทางการขึ้นและตกของดวงจันทร์

ด้านทักษะ

ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

๑. ประเมินทักษะการสังเกต จากผลการบันทึก

รายละเอียดการสังเกตเกี่ยวกับเส้นทางการขึ้นและ

ตกของดวงจันทร์ ได้ครบถ้วน ตามความเป็นจริงโดย

ไม่เพิ่มความคิดเห็นส่วนตัว

174

ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔

สาระที่ ๓ วิทยาศาสตร์โลก และอวกาศ

มาตรฐาน ว ๓.๑ เข้าใจองค์ประกอบ ลักษณะ กระบวนการเกิด และวิวัฒนาการของเอกภพ กาแล็กซี ดาวฤกษ์ และระบบสุริยะ รวมทั้ง

ปฏิสัมพันธ์ภายในระบบสุริยะที่ส่งผลต่อสิ่งมีชีวิต และการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอวกาศ

ตัวชี้วัด

๑. อธิบายแบบรูปเส้นทางการขึ้นและตกของดวงจันทร์ โดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์