Table of Contents Table of Contents
Previous Page  180 / 283 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 180 / 283 Next Page
Page Background

การวิเคราะห์ตัวชี้วัด

แนวทางการจัดการเรียนรู้

แนวทางการวัดและประเมินตัวชี้วัด

ตัวชี้วัด

๗. บรรยายมวลของวัตถุที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงการเคลื่อนที่ของวัตถุจากหลักฐานเชิงประจักษ์

ด้านความรู้

ม ว ล ข อ ง วั ต ถุ มี ผ ล ต่ อ ก า ร เ ป ลี่ ย น แ ป ล ง

การเคลื่อนที่ของวัตถุโดยวัตถุที่มีมวลมาก

จะเปลี่ยนแปลงการเคลื่อนที่ได้ยากกว่าวัตถุที่มี

มวลน้อย มวลมีหน่วยเป็นกรัมหรือกิโลกรัม

ด้านความรู้

บรรยายมวลของวัตถุที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลง

การเคลื่อนที่ของวัตถุ

๑. ครูตรวจสอบความรู้เดิมเกี่ยวกับวัตถุที่มีมวลต่างกัน แต่มีขนาดเท่ากัน โดย

ใช้สื่อประกอบ เช่น ฟองน้ำ�กับดินน้ำ�มันที่มีขนาดเท่ากัน โดยให้นักเรียน

เปรียบเทียบปริมาณเนื้อของวัตถุทั้งสอง

๒. นักเรียนร่วมกันอภิปรายเพื่อลงข้อสรุปว่ามวลเป็นปริมาณเนื้อทั้งหมด

ที่ประกอบเป็นวัตถุ มีหน่วยเป็นกรัมหรือกิโลกรัม

๓. ครูกระตุ้นให้นักเรียนเกิดข้อสงสัยและตั้งคำ�ถามเกี่ยวกับมวลที่มีผลต่อ

การเปลี่ยนแปลงการเคลื่อนที่ โดยอาจใช้วิธีซักถาม กิจกรรมสาธิต หรือ

ใช้สื่อต่าง ๆ เช่น วีดิทัศน์แสดงการออกแรงเข็นรถยนต์ที่มีขนาดต่างกัน

ให้เคลื่อนที่ เพื่อนำ�ไปสู่การทำ�กิจกรรมเพื่อสังเกตมวลของวัตถุที่มีผลต่อ

การเปลี่ยนแปลงการเคลื่อนที่ของวัตถุ

๔. ครูให้นักเรียนปฏิบัติกิจกรรม เช่น ออกแรงกระทำ�ต่อวัตถุที่มีมวลต่างกัน

ที่อยู่นิ่งให้เคลื่อนที่ หรือที่กำ�ลังเคลื่อนที่ให้หยุด สังเกตความยากง่ายและ

แรงที่ใช้ในการทำ�ให้วัตถุเปลี่ยนแปลงการเคลื่อนที่ บันทึกผล

๕. นักเรียนนำ�เสนอและร่วมกันอภิปรายโดยนำ�หลักฐานเชิงประจักษ์

มาสนับสนุนเพื่อให้ได้ข้อสรุปว่ามวลมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงการเคลื่อนที่

ของวัตถุ โดยวัตถุที่มีมวลมากจะเปลี่ยนแปลงการเคลื่อนที่ได้ยากกว่าวัตถุ

ที่มวลน้อย

๖. นักเรียนร่วมกันอภิปรายและวิเคราะห์สถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับมวลของ

วัตถุซึ่งมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงเคลื่อนที่ของวัตถุในชีวิตประจำ�วัน เช่น

การหยุดรถบรรทุกทำ�ได้ยากกว่ารถจักรยาน นำ�เสนอผลการวิเคราะห์

ครูและนักเรียนร่วมกันตรวจสอบผลการวิเคราะห์และปรับปรุงแก้ไข

ให้ถูกต้อง

ด้านทักษะ

ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

๑. ทักษะการสังเกต โดยบรรยายความยากง่าย

ในการทำ�ให้วัตถุที่มีมวลต่างกันเปลี่ยนแปลง

การเคลื่อนที่

๒. ทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล โดย

การนำ�ข้อมูลจากการสังเกต เชื่อมโยง

ความรู้เรื่องมวลมาบรรยายมวลของวัตถุที่มี

ผลต่อการเปลี่ยนแปลงการเคลื่อนที่ของวัตถุ

๓. ทักษะการตีความหมายข้อมูลและลงข้อสรุป

โดยทำ�ความเข้าใจข้อมูลที่บันทึกได้จาก

การสังเกตเพื่อลงข้อสรุปเกี่ยวกับมวลของ

วัตถุที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงการเคลื่อนที่

ของวัตถุ

ด้านทักษะ

ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

๑. ประ เ มินทักษะกา รสัง เ กต จากกา รบันทึก

รายละเอียดความยากง่ายในการทำ�ให้วัตถุที่มีมวล

ต่างกันเปลี่ยนแปลงการเคลื่อนที่ตามความเป็นจริง

โดยไม่เพิ่มความคิดเห็นส่วนตัว

๒. ประเมินทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล จาก

ข้อมูลที่ได้จากการสังเกต เชื่อมโยงความรู้เรื่องมวล

มาบรรยายมวลของวัตถุที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลง

การเคลื่อนที่ของวัตถุได้อย่างสมเหตุสมผล

๓. ประเมินทักษะการตีความหมายข้อมูลและลงข้อ

สรุป จากการทำ�ความเข้าใจข้อมูลที่ได้จากการ

สังเกตเพื่อลงข้อสรุปเกี่ยวกับมวลของวัตถุที่มีผลต่อ

การเปลี่ยนแปลงการเคลื่อนที่ของวัตถุได้ถูกต้อง

170