Table of Contents Table of Contents
Previous Page  186 / 283 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 186 / 283 Next Page
Page Background

การวิเคราะห์ตัวชี้วัด

แนวทางการจัดการเรียนรู้

แนวทางการวัดและประเมินตัวชี้วัด

ตัวชี้วัด

๒. สร้างแบบจำ�ลองที่อธิบายแบบรูปการเปลี่ยนแปลงรูปร่างปรากฏของดวงจันทร์ และพยากรณ์รูปร่างปรากฏของดวงจันทร์

ด้านความรู้

รูปร่างปรากฏของดวงจันทร์ที่มองเห็นบน

ท้องฟ้าแต่ละวันแตกต่างกัน โดยดวงจันทร์จะมี

ส่วนสว่างเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจนสว่างทั้งดวง

จากนั้นดวงจันทร์จะมีส่วนสว่างลดลงอย่าง

ต่อเนื่อง จนไม่สามารถสังเกตเห็นส่วนสว่างได้

จากนั้นส่วนสว่างของดวงจันทร์จะกลับมาเพิ่มขึ้น

อีกครั้งการเปลี่ยนแปลงเช่นนี้เป็นแบบรูปซ้ำ�กัน

ด้านทักษะ

ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

๑. ทักษะการสังเกต โดยสังเกตรูปร่างปรากฏ

ของดวงจันทร์

๒. ทักษะการพยากรณ์ โดยใช้ข้อมูลเกี่ยวกับ

แบบรูปการเปลี่ยนแปลงรูปร่างปรากฏของ

ดวงจันทร์ เพื่อพยากรณ์รูปร่างปรากฏของ

ดวงจันทร์ในเดือนอื่นๆ

๓. ทักษะการสร้างแบบจำ�ลอง โดยการนำ�

ข้อมูลที่ได้จากการสืบค้นมาออกแบบและ

เลือกใช้วัสดุอุปกรณ์เพื่อสร้างแบบจำ�ลอง

แบบรูปการเปลี่ยนแปลงรูปร่างปรากฏของ

ดวงจันทร์

๑. ครูกระตุ้นให้นักเรียนเกิดข้อสงสัยและตั้งคำ�ถามเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลง

รูปร่างปรากฏของดวงจันทร์ โดยอาจใช้สถานการณ์ หรือคำ�ถาม หรือ

สื่อต่างๆ เช่น วีดิทัศน์ ภาพเคลื่อนไหว เพื่อนำ�ไปสู่การวางแผนการสังเกต

ดวงจันทร์

๒. นักเรียนสังเกตการเปลี่ยนแปลงรูปร่างปรากฏของดวงจันทร์ตามที่ได้

วางแผนไว้ บันทึกผล

๓. นักเรียนสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงรูปร่างปรากฏของดวงจันทร์

จากแหล่งข้อมูลต่างๆ เช่น หนังสือ วีดิทัศน์ เว็บไซต์ที่น่าเชื่อถือ โปรแกรม

ทางดาราศาสตร์ จากนั้นร่วมกันอภิปรายการเปลี่ยนแปลงรูปร่างปรากฏ

ของดวงจันทร์ที่ซ้ำ�ๆ กันในแต่ละเดือน

๔. นักเรียนร่วมกันออกแบบและสร้างแบบจำ�ลองแบบรูปการเปลี่ยนแปลง

รูปร่างปรากฏของดวงจันทร์ แล้วนำ�เสนอ

๕. นักเรียนร่วมกันอภิปรายเพื่อลงข้อสรุปว่า รูปร่างปรากฏของดวงจันทร์ที่

มองเห็นบนท้องฟ้าแต่ละวันแตกต่างกัน โดยรูปร่างปรากฏของดวงจันทร์

จะมีส่วนสว่างเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจนสว่างทั้งดวง จากนั้นดวงจันทร์จะ

มีส่วนสว่างลดลงอย่างต่อเนื่อง จนไม่สามารถสังเกตดวงจันทร์ได้ จากนั้น

ส่วนสว่างของดวงจันทร์จะกลับมาเพิ่มขึ้นอีกครั้ง การเปลี่ยนแปลงเช่นนี้

เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นแบบรูปทุกเดือน

๖. ครูสร้างสถานการณ์ให้นักเรียนพยากรณ์รูปร่างปรากฏของดวงจันทร์ใน

เดือนอื่นๆ

ด้านความรู้

๑. อธิบายแบบรูปการเปลี่ยนแปลงรูปร่างปรากฏของ

ดวงจันทร์

๒. พยากรณ์รูปร่างปรากฏของดวงจันทร์

ด้านทักษะ

ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

๑. ประเมินทักษะการสังเกต จากผลการบันทึก

รายละเอียดการสังเกตรูปร่างปรากฏของดวงจันทร์

ได้ครบถ้วน ตามความเป็นจริงโดยไม่เพิ่มความคิด

เห็นส่วนตัว

๒. ประเมินทักษะการพยากรณ์ จากการคาดคะเน

เกี่ยวกับรูปร่างปรากฏของดวงจันทร์ในเดือนอื่น ๆ

ได้อย่างถูกต้อง แม่นยำ�

๓. ประเมินทักษะการสร้างแบบจำ�ลอง จากแบบ

จำ�ลองที่แสดงให้เห็นถึงแนวคิดที่ถูกต้องเกี่ยวกับ

แบบรูปการเปลี่ยนแปลงรูปร่างปรากฏของ

ดวงจันทร์

176