Table of Contents Table of Contents
Previous Page  175 / 283 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 175 / 283 Next Page
Page Background

การวิเคราะห์ตัวชี้วัด

แนวทางการจัดการเรียนรู้

แนวทางการวัดและประเมินตัวชี้วัด

ตัวชี้วัด

๓. เปรียบเทียบสมบัติของสสารทั้ง ๓ สถานะ จากข้อมูลที่ได้จากการสังเกตมวล การต้องการที่อยู่ รูปร่างและปริมาตรของสสาร

๔. ใช้เครื่องมือเพื่อวัดมวล และปริมาตรของสสารทั้ง ๓ สถานะของวัสดุ

ด้านความรู้

สสารเป็นสิ่งที่มีมวลและต้องการที่อยู่ แบ่งออกเป็น

ของแข็ง ของเหลว และแก๊ส โดยของแข็งมีปริมาตร

และรูปร่างคงที่ ของเหลวมีปริมาตรคงที่แต่รูปร่างไม่

คงที่เปลี่ยนแปลงตามส่วนของภาชนะที่บรรจุ ส่วน

แก๊สมีปริมาตรและรูปร่างไม่คงที่เปลี่ยนแปลงตาม

ภาชนะที่บรรจุ

หมายเหตุ:

ไม่จำ�เป็นต้องอธิบายถึงการจัดเรียงอนุภาค และ

พลังงานของอนุภาคของของแข็ง ของเหลวและแก๊ส

ด้านทักษะ

ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

๑. ทักษะการสังเกต โดยสังเกตรูปร่างของสสาร

ที่เป็นของแข็ง ของเหลวและแก๊ส และบันทึก

สิ่งที่สังเกต

๒. ทักษะการวัด โดยใช้เครื่องชั่งมวลชั่งมวลและ

ระบุหน่วยของมวล ใช้อุปกรณ์ตวงสารและระบุ

หน่วยปริมาตร

ด้านความรู้

๑. อธิบายสมบัติของสสารในสถานะของแข็ง ของเหลว

และแก๊ส

๒. เปรียบเทียบ มวล การต้องการที่อยู่ ปริมาตร และ

รูปร่างของของแข็ง ของเหลว และแก๊ส

ด้านทักษะ

ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

๑. ประเมินทักษะการสังเกตจากผลการบันทึกรูปร่าง

ของสสารที่เป็นของแข็ง ของเหลวและแก๊สตาม

ความเป็นจริง

๒. ประเมินทักษะการวัดจากการใช้เครื่องชั่งมวล

ได้คล่องแคล่ว อ่านค่ามวลและระบุหน่วยมวลได้

ถูกต้อง ใช้อุปกรณ์ตวงสสารได้ถูกต้อง และระบุ

หน่วยปริมาตรได้ถูกต้อง

๑. ครูตรวจสอบความรู้เดิมเพื่อนำ�ข้อมูลที่ได้มาประกอบการจัดกิจกรรม

การเรียนรู้เกี่ยวกับความหมายของสสาร สถานะของสสาร และสมบัติ

ของสสารแต่ละสถานะ โดยอาจใช้คำ�ถาม หรือสื่อต่าง ๆ เช่น รูปภาพ

ของสสารที่มีสถานะแตกต่างกัน

๒. ครูกระตุ้นให้นักเรียนเกิดข้อสงสัยและตั้งคำ�ถามเกี่ยวกับมวล การ

ต้องการที่อยู่ ปริมาตร และรูปร่างของสสารในสถานะของแข็ง

ของเหลว และแก๊ส โดยใช้ตัวอย่างสสาร เช่น ก้อนหิน น้ำ� อากาศ และ

ใช้คำ�ถามเพื่อนำ�ไปสู่การสังเกตและเปรียบเทียบมวล การต้องการที่อยู่

ปริมาตรและรูปร่างของสสารสถานะต่าง ๆ

๓. นักเรียนปฏิบัติกิจกรรมโดยวัดมวลและปริมาตรของสสารที่เป็น

ของแข็ง ของเหลว และแก๊ส บันทึกผลการวัดพร้อมทั้งระบุหน่วย

และสังเกตรูปร่างและการต้องการที่อยู่ของสสารทั้งของแข็ง ของเหลว

และแก๊ส บันทึกผล เปรียบเทียบมวล การต้องการที่อยู่ ปริมาตร และ

รูปร่างของของแข็ง ของเหลว และแก๊ส ในรูปแบบตาราง สรุปผล

๔. นักเรียนนำ�เสนอผลการเปรียบเทียบมวลและการต้องการที่อยู่ และ

ครูใช้คำ�ถามเพื่อให้นักเรียนอภิปรายโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์มา

สนับสนุนเพื่อให้ได้ข้อสรุปว่าสิ่งที่มีมวลและต้องการที่อยู่จัดเป็นสสาร

165

วิทยาศาสตร์

ประถมศึกษาปีที่ ๔