Table of Contents Table of Contents
Previous Page  173 / 283 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 173 / 283 Next Page
Page Background

การวิเคราะห์ตัวชี้วัด

แนวทางการจัดการเรียนรู้

แนวทางการวัดและประเมินตัวชี้วัด

ด้านความรู้

การนำ�ไฟฟ้าของวัสดุคือการที่มีกระแสไฟฟ้า

เคลื่อนที่ผ่านวัสดุ วัสดุที่นำ�ไฟฟ้าได้เรียกว่า

ตัวนำ�ไฟฟ้า ส่วนวัสดุที่ไม่นำ�ไฟฟ้าหรือนำ�ไฟฟ้า

ได้ไม่ดี เรียกว่า ฉนวนไฟฟ้า การนำ�ไฟฟ้าของ

วัสดุสามารถนำ�ไปใช้ประโยชน์ได้ สมบัติต่าง ๆ

ของวัสดุสามารถนำ�มาพิจารณาเพื่อใช้ในการ

ออกแบบและสร้างชิ้นงานเพื่อใช้ประโยชน์ใน

ชีวิตประจำ�วัน

ด้านทักษะ

ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

๑. ทักษะการสังเกต โดยสังเกตความสว่างของ

หลอดไฟฟ้าเมื่อนำ�วัสดุต่อกับวงจรไฟฟ้า

๒. ทักษะการจัดกระทำ�และสื่อความหมาย

ข้อมูล โดยการนำ�เสนอข้อมูลในรูปแบบ

ตารางหรือแผนภาพ

๓. ทักษะการลงความเห็นจากข้อมูลโดย

การนำ�ข้อมูลจากการสังเกตมาอธิบายและ

เปรียบเทียบการนำ�ไฟฟ้าของวัสดุ

๔. ทักษะการตีความหมายข้อมูลและลงข้อสรุป

โดยการตีความหมายจากข้อมูลที่นำ�เสนอ

แล้วอภิปรายเพื่อลงข้อสรุปเปรียบเทียบ

การนำ�ไฟฟ้าของวัสดุ

ด้านความรู้

๑. อธิบายการนำ�ไฟฟ้าของวัสดุ

๒. เปรียบเทียบการนำ�ไฟฟ้าของวัสดุ

๓. ยกตัวอย่างการนำ�สมบัติการนำ�ไฟฟ้าไปใช้ประโยชน์

ด้านทักษะ

ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

๑. ประเมินทักษะการสังเกตจากการสังเกตเมื่อนำ�วัสดุ

แต่ละชนิดมาทดสอบการนำ�ไฟฟ้าได้อย่างถูกต้อง

ครบถ้วน

๒. ประเมินทักษะการจัดกระทำ�และสื่อความหมายข้อมูล

จากการแสดงข้อมูลในตารางหรือแสดงแผนภาพได้

ถูกต้อง ครบถ้วน

๓. ประเมินทักษะการลงความเห็นจากข้อมูลจากการนำ�

ข้อมูลจากการสังเกตมาอธิบายและเปรียบเทียบ

การนำ�ไฟฟ้าของวัสดุพร้อมแสดงเหตุผลประกอบ

๔. ประเมินทักษะการตีความหมายข้อมูลและลงข้อสรุป

จากการตีความหมายจากข้อมูลที่นำ�เสนอ แล้ว

อภิปรายเพื่อลงข้อสรุปการนำ�ไฟฟ้าของวัสดุคือการ

ที่กระแสไฟฟ้าไหลผ่านวัสดุ วัสดุแต่ละชนิดนำ�ไฟฟ้า

ได้แตกต่างกัน บางชนิดนำ�ไฟฟ้า บางชนิดไม่นำ�ไฟฟ้า

การนำ�ไฟฟ้าของวัสดุ

๑. ครูกระตุ้นให้นักเรียนเกิดข้อสงสัยและตั้งคำ�ถามเกี่ยวกับสมบัติการ

นำ�ไฟฟ้าของวัสดุโดยอาจใช้คำ�ถาม ใช้การสาธิต หรือสื่อต่าง ๆ เช่น

รูปภาพ วีดิทัศน์ เพื่อนำ�ไปสู่การทำ�กิจกรรมเปรียบเทียบการนำ�ไฟฟ้า

ของวัสดุ

๒. นักเรียนปฏิบัติกิจกรรมเพื่อทดสอบการนำ�ไฟฟ้าของวัสดุต่าง ๆ ที่เป็นทั้ง

ฉนวนไฟฟ้าและตัวนำ�ไฟฟ้า เช่น แก้ว ทองแดง พลาสติก ไม้ ยาง เหล็ก

อะลูมิเนียม โดยอาจนำ�วัสดุแต่ละชนิดมาต่อกับวงจรไฟฟ้าอย่างง่าย

สังเกตความสว่างของหลอดไฟฟ้าหรืออาจตรวจสอบการนำ�ไฟฟ้าของ

วัสดุแต่ละชนิดโดยใช้เครื่องวัดค่าการนำ�ไฟฟ้า บันทึกผลและสรุปผล

การทำ�กิจกรรม

๓. นักเรียนนำ�เสนอผลการทำ�กิจกรรมโดยใช้ซอฟต์แวร์ประยุกต์ ครูใช้

หลักฐานเชิงประจักษ์ซึ่งได้แก่ผลการทำ�กิจกรรมของนักเรียนทั้งชั้น และ

ใช้คำ�ถามเพื่อให้นักเรียนร่วมกันอภิปรายและลงข้อสรุปว่า วัสดุบางชนิด

นำ�ไฟฟ้า บางชนิดไม่นำ�ไฟฟ้า

๔. ครูให้ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการนำ�ไฟฟ้าของวัสดุชนิดต่างๆ ซึ่งบางชนิด

นำ�ไฟฟ้าได้ เรียกว่า ตัวนำ�ไฟฟ้า และบางชนิดไม่นำ�ไฟฟ้าหรือนำ�ไฟฟ้าได้

ไม่ดี เรียกว่า ฉนวนไฟฟ้า

๕. นักเรียนสำ�รวจวัสดุในชีวิตประจำ�วันที่เป็นตัวนำ�ไฟฟ้าและฉนวนไฟฟ้า

รวมทั้งการนำ�ไปใช้ประโยชน์ บันทึก และนำ�เสนอ ครูและนักเรียนร่วมกัน

ประเมินผลงานที่นำ�เสนอ

๖. ครูกระตุ้นให้นักเรียนเกิดข้อสงสัยและตั้งคำ�ถามเกี่ยวกับการสร้างชิ้นงาน

เพื่อใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำ�วันโดยพิจารณาจากสมบัติของวัสดุในด้าน

ความแข็ง สภาพยืดหยุ่น การนำ�ความร้อนหรือการนำ�ไฟฟ้าของวัสดุโดย

อาจใช้คำ�ถาม หรือสถานการณ์ เพื่อนำ�ไปสู่การทำ�กิจกรรมการออกแบบ

163

วิทยาศาสตร์

ประถมศึกษาปีที่ ๔