Table of Contents Table of Contents
Previous Page  169 / 283 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 169 / 283 Next Page
Page Background

การวิเคราะห์ตัวชี้วัด

แนวทางการจัดการเรียนรู้

แนวทางการวัดและประเมินตัวชี้วัด

ด้านความรู้

สภาพยืดหยุ่นของวัสดุคือการเปลี่ยนแปลงสภาพ

ของวัสดุเมื่อมีแรงมากระทำ�และสามารถกลับสู่

สภาพเดิมเมื่อหยุดออกแรงกระทำ� วัสดุมีสภาพ

ยืดหยุ่นแตกต่างกันจึงนำ�มาใช้ประโยชน์ได้

แตกต่างกัน

ด้านทักษะ

ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

๑. ทักษะการวัด โดยการเลือกใช้เครื่องมือวัด

และระบุหน่วยของการวัด

๒. ทักษะการจัดกระทำ�และสื่อความหมาย

ข้อมูลโดยการนำ�ข้อมูลที่ได้จากการสังเกต

มานำ�เสนอในรูปแบบของตารางบันทึกผล

๓. ทักษะการลงความเห็นจากข้อมูลโดยการนำ�

ข้อมูลจากการสังเกตมาอธิบายและเปรียบ

เทียบสภาพยืดหยุ่นของวัสดุ

๔. ทักษะการตั้งสมมติฐาน โดยการตั้งสมมติฐาน

การทดลองเรื่องสภาพยืดหยุ่นของวัสดุ

๕. ทักษะการกำ�หนดนิยามเชิงปฏิบัติการ

โดยการกำ�หนดวิธีการสังเกตหรือวัดการ

เปลี่ยนแปลงสภาพและการกลับสู่สภาพเดิม

ของวัสดุ

ด้านความรู้

๑. อธิบายสภาพยืดหยุ่นของวัสดุ

๒. เปรียบเทียบสภาพยืดหยุ่นของวัสดุ

๓. ยกตัวอย่างการนำ�วัสดุไปใช้ประโยชน์โดยใช้สภาพ

ยืดหยุ่นของวัสดุ

ด้านทักษะ

ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

๑. ประเมินทักษะการวัดจากการเลือกใช้เครื่องมือใน

การวัดได้เหมาะสมและระบุหน่วยของการวัดได้

ถูกต้อง

๒. ประเมินทักษะการจัดกระทำ�และสื่อความหมาย

ข้อมูลจากการนำ�ข้อมูลที่ได้จากการสังเกต มานำ�

เสนอในรูปแบบของตารางบันทึกผลได้ครบถ้วนและ

ถูกต้อง

๓. ประเมินทักษะการลงความเห็นจากข้อมูลจากการนำ�

ข้อมูลจากการสังเกตมาอธิบายและเปรียบเทียบ

สภาพยืดหยุ่นของวัสดุพร้อมแสดงเหตุผลประกอบ

๔. ประเมินทักษะการตั้งสมมติฐานจากการระบุได้ว่า

วัสดุแต่ละชนิดมีสภาพยืดหยุ่นแตกต่างกันหรือวัสดุ

แต่ละชนิดมีสภาพยืดหยุ่นเหมือนกัน

๕. ประเมินทักษะการกำ�หนดนิยามเชิงปฏิบัติการจาก

การกำ�หนดวิธีการสังเกตหรือวัดการเปลี่ยนแปลง

สภาพและการกลับสู่สภาพเดิมของวัสดุได้ถูกต้อง

๖. ประเมินทักษะการกำ�หนดและควบคุมตัวแปร

สภาพยืดหยุ่นของวัสดุ

๑. ครูถามเกี่ยวกับสมบัติอื่นๆ โดยทั่วไปของวัสดุ นอกจากความแข็ง

๒. ครูใช้คำ�ถามเพื่อสำ�รวจความรู้เดิมเกี่ยวกับสภาพยืดหยุ่นของวัสดุต่าง ๆ

เช่น สปริง ยางรัดของ ดินน้ำ�มัน ฟองน้ำ�

๓. ครูอาจใช้คำ�ถาม สื่อต่าง ๆ หรือการสาธิตโดยการออกแรงกระทำ�ต่อวัสดุ

เช่น สปริง ฟองน้ำ� ยางรัดของ และให้นักเรียนสังเกตการเปลี่ยนแปลง

วัสดุเมื่อหยุดออกแรง ครูใช้คำ�ถามในการอภิปรายร่วมกันเพื่อให้ได้

ความหมายของสภาพยืดหยุ่นของวัสดุว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพ

ของวัสดุเมื่อมีแรงมากระทำ�และสามารถกลับสู่สภาพเดิมเมื่อหยุดออก

แรงกระทำ�หรือความสามารถในการคืนสู่สภาพเดิมของวัสดุเมื่อมี

แรงกระทำ�ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพ

๔. ครูกระตุ้นให้นักเรียนเกิดข้อสงสัยว่าวัสดุแต่ละชนิดมีสภาพยืดหยุ่น

เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร โดยอาจใช้การสาธิต หรือสื่ออื่น ๆ เช่น

รูปภาพ วีดิทัศน์ เพื่อนำ�ไปสู่การทดลอง เปรียบเทียบสภาพยืดหยุ่น

ของวัสดุ

๕. นักเรียนปฏิบัติกิจกรรมโดย ระบุจุดประสงค์การทดลอง ตั้งสมมติฐาน

การทดลอง ระบุตัวแปร กำ�หนดนิยามเชิงปฏิบัติการ และออกแบบตาราง

บันทึกผลการทดลองในรายงานการทดลองโดยใช้ซอฟต์แวร์ประยุกต์

นักเรียนลงมือทำ�การทดลอง สังเกตการเปลี่ยนแปลงของวัสดุเมื่อมีแรง

กระทำ�และเมื่อหยุดออกแรง และบันทึกผล ตรวจสอบสมมติฐาน และลง

ข้อสรุป

๖. นักเรียนนำ�เสนอผลการทดลอง ครูใช้ผลการทดลองของนักเรียนทั้งชั้น

และใช้คำ�ถามเพื่อให้นักเรียนร่วมกันอภิปรายโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์

และสรุปเปรียบเทียบสภาพยืดหยุ่นของวัสดุที่ใช้ในการทดลอง

159

วิทยาศาสตร์

ประถมศึกษาปีที่ ๔