Table of Contents Table of Contents
Previous Page  190 / 367 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 190 / 367 Next Page
Page Background

การวิเคราะห์ตัวชี้วัด

แนวทางการจัดการเรียนรู้

แนวทางการวัดและประเมินตัวชี้วัด

ด้านความรู้

การตกผลึก ใช้แยกสารละลายที่ประกอบด้วย

ตัวละลายที่เป็นของแข็งในตัวทำ�ละลายที่เป็น

ของเหลว โดยทำ�ให้สารละลายอิ่มตัว แล้วปล่อย

ให้ตัวทำ�ละลายระเหยออกไปบางส่วน ตัวละลาย

จะตกผลึกแยกออกมา

ด้านทักษะ

ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

๑. ทักษะการสังเกต โดยสังเกตการเปลี่ยนแปลง

ของสารละลายอิ่มตัวที่ตั้งไว้ และบันทึกสิ่งที่

สังเกตได้

๒. ทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล โดยใช้

ข้อมูลจากการสังเกตการเปลี่ยนแปลงของ

สารละลายอิ่มตัวที่ตั้งไว้ มาอธิบายเกี่ยวกับ

การแยกสารโดยการตกผลึก

ทักษะแห่งศตวรรษที่ ๒๑

๑. ทักษะด้านความร่วมมือและการทำ�งาน

เป็นทีม โดยร่วมกันสังเกตและอภิปราย เพื่อ

สรุปหลักการแยกสารโดยการตกผลึก

๒. ทักษะด้านการสื่อสาร โดยนำ�เสนอผลการ

ทำ�กิจกรรมและร่วมกันอภิปรายในชั้นเรียน

เกี่ยวกับการแยกสารโดยการตกผลึก

ด้านความรู้

อธิบายหลักการแยกสารโดยการตกผลึก

ด้านทักษะ

ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

๑. ประเมินทักษะการสังเกต จากผลการบันทึกการ

เปลี่ยนแปลงของสารละลายอิ่มตัวที่ตั้งไว้ ได้ครบถ้วน

ตามความเป็นจริง โดยไม่เพิ่มความคิดเห็นส่วนตัว

๒. ประเมินทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล ที่ได้จากการ

สังเกตการเปลี่ยนแปลงของสารละลายอิ่มตัวที่ตั้งไว้

มาอธิบายเกี่ยวกับการแยกสารโดยการตกผลึกอย่าง

สมเหตุสมผล

ทักษะแห่งศตวรรษที่ ๒๑

๑. ประเมินทักษะด้านความร่วมมือและการทำ�งาน

เป็นทีม จากการร่วมกันสังเกตและอภิปราย เพื่อสรุป

หลักการแยกสารโดยการตกผลึก ตั้งแต่เริ่มต้นจนสำ�เร็จ

ลุล่วง

๒. ประเมินทักษะด้านการสื่อสาร จากการนำ�เสนอผล

การทำ�กิจกรรมและร่วมกันอภิปรายในชั้นเรียนเกี่ยวกับ

การแยกสารโดยการตกผลึก เพื่อให้ผู้อื่นเข้าใจได้อย่าง

รวดเร็ว ชัดเจน และถูกต้อง

การแยกสารโดยการตกผลึก

๑. ครูทบทวนและอภิปรายโดยใช้คำ�ถามเกี่ยวกับสมบัติของสารผสมที่แยก

ได้ด้วยวิธีการระเหยแห้ง และให้นักเรียนยกตัวอย่างสารที่แยกได้ด้วย

วิธีนี้  

๒. ครูกระตุ้นให้นักเรียนเกิดข้อสงสัยและตั้งคำ�ถามเกี่ยวกับวิธีการแยก

สารอื่น ๆ เช่น น้ำ�เกลือ น้ำ�ทะเล สารละลายจุนสี ที่มีตัวละลายเป็น

ของแข็งในตัวทำ�ละลายที่เป็นของเหลว ที่นอกเหนือจากการระเหยแห้ง

โดยอาจใช้วิธีซักถาม หรือใช้สื่อต่าง ๆ เช่น ภาพเคลื่อนไหว วีดิทัศน์

แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น

๓. ครูอภิปรายเกี่ยวกับสารละลายอิ่มตัวโดยใช้คำ�ถาม หรือแสดงตัวอย่าง

สารละลายอิ่มตัวบางชนิด เช่น สารละลายจุนสี เพื่อให้นักเรียนร่วมกัน

อภิปรายและลงข้อสรุปว่าสารละลายอิ่มตัวเป็นสารละลายที่ตัวละลาย

ไม่สามารถละลายได้เพิ่มขึ้นอีก ณ อุณหภูมิหนึ่ง

๔. นักเรียนปฏิบัติกิจกรรม โดยค่อย ๆ เติมตัวละลายลงในสารละลาย

และให้ความร้อนไปเรื่อยๆ จนกระทั่งตัวละลายไม่สามารถละลายใน

สารละลายได้อีก เพื่อให้ได้สารละลายอิ่มตัว ณ อุณหภูมิสูง แล้วตั้ง

ไว้ให้สารละลายเย็นลงจนเห็นผลึก หรือระเหยตัวทำ�ละลายบางส่วน

ออกจากสารละลายอิ่มตัว แล้วตั้งไว้จนตกผลึก สังเกตการเปลี่ยนแปลง

ที่เกิดขึ้น บันทึกผล วิเคราะห์ สรุปผล และนำ�เสนอ

๕. ครูใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ โดยรวบรวมข้อมูลทั้งชั้นเรียนและใช้

คำ�ถาม เพื่อให้นักเรียนร่วมกันอภิปราย ลงข้อสรุปว่า การแยกสาร

ด้วยการตกผลึก เป็นการแยกสารที่เป็นของแข็งออกจากสารละลาย

อาจทำ�ได้โดยทำ�ให้สารละลายที่ต้องการแยกกลายเป็นสารละลาย

อิ่มตัวที่อุณหภูมิสูง แล้วตั้งไว้จนอุณหภูมิลดต่ำ�ลง เพื่อให้เกิดการตกผลึก

หรือปล่อยให้ตัวทำ�ละลายในสารละลายอิ่มตัวระเหยออกบางส่วน

เพื่อให้ตัวละลายที่เป็นของแข็งตกผลึกแยกออกมา

180