Table of Contents Table of Contents
Previous Page  188 / 367 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 188 / 367 Next Page
Page Background

การวิเคราะห์ตัวชี้วัด

แนวทางการจัดการเรียนรู้

แนวทางการวัดและประเมินตัวชี้วัด

ด้านความรู้

อธิบายหลักการแยกสารโดยการระเหยแห้ง

ด้านความรู้

การแยกสารให้เป็นสารบริสุทธิ์ทำ�ได้หลายวิธี

ขึ้นอยู่กับสมบัติของสารนั้น ๆ การระเหยแห้ง

ใช้แยกสารละลายซึ่งประกอบด้วยตัวละลายที่

เป็นของแข็งในตัวทำ�ละลายที่เป็นของเหลวโดย

ใช้ความร้อนระเหยตัวทำ�ละลายออกไปจนหมด

เหลือแต่ตัวละลาย

การแยกสารโดยการระเหยแห้ง

๑. ครูทบทวนความรู้เกี่ยวกับการแยกสาร เช่น การหยิบออก การร่อน

การใช้แม่เหล็กดึงดูด การรินออก การกรอง และการตกตะกอน โดยใช้

คำ�ถามหรือสื่อต่าง ๆ

๒. ครูกระตุ้นให้นักเรียนเกิดข้อสงสัยและตั้งคำ�ถามเกี่ยวกับวิธีการแยกสาร

เช่น น้ำ�เกลือ น้ำ�หมึก น้ำ�ทะเล สารละลายเอทานอล น้ำ�มันหอมระเหย

ด้วยวิธีอื่นๆ เพื่อนำ�สารที่แยกได้มาใช้ประโยชน์ โดยอาจใช้วิธีซักถาม หรือ

ใช้สื่อต่าง ๆ เช่น รูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว วีดิทัศน์ แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น

178

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒

มาตรฐาน ว ๒.๑ เข้าใจสมบัติของสาร องค์ประกอบของสสาร ความสัมพันธ์ระหว่างสมบัติของสารกับโครงสร้างและแรงยึดเหนี่ยว

ระหว่างอนุภาค หลักและธรรมชาติของการเปลี่ยนแปลงสถานะของสาร การเกิดสารละลาย และการเกิดปฏิกิริยาเคมี

มาตรฐาน ว ๒.๒ เข้าใจธรรมชาติของแรงในชีวิตประจำ�วัน ผลของแรงที่กระทำ�ต่อวัตถุ ลักษณะการเคลื่อนที่แบบต่างๆ ของวัตถุ รวมทั้งนำ�ความรู้ไปใช้ประโยชน์

มาตรฐาน ว ๒.๓ เข้าใจความหมายของพลังงาน การเปลี่ยนแปลงและการถ่ายโอนพลังงาน ปฏิสัมพันธ์ระหว่างสสารและพลังงาน พลังงานในชีวิตประจำ�วัน

ธรรมชาติของคลื่น ปรากฏการณ์ที่เกี่ยวข้องกับเสียง แสง และคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า รวมทั้งนำ�ความรู้ไปใช้ประโยชน์

ตัวชี้วัด

๑. อธิบายการแยกสารโดยการระเหยแห้ง การตกผลึก การกลั่นอย่างง่าย โครมาโทกราฟีแบบกระดาษ การสกัดด้วยตัวทำ�ละลาย โดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์

๒. แยกสารผสมโดยการระเหยแห้ง การตกผลึก การกลั่นอย่างง่าย โครมาโทกราฟีแบบกระดาษ การสกัดด้วยตัวทำ�ละลาย

สาระที่ ๒ วิทยาศาสตร์กายภาพ