Table of Contents Table of Contents
Previous Page  193 / 367 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 193 / 367 Next Page
Page Background

การวิเคราะห์ตัวชี้วัด

แนวทางการจัดการเรียนรู้

แนวทางการวัดและประเมินตัวชี้วัด

ด้านความรู้

โครมาโทกราฟีแบบกระดาษเป็นวิธีการแยก

สารที่มีปริมาณน้อย โดยใช้แยกสารที่มีสมบัติ

การละลายในตัวทำ�ละลายและการถูกดูดซับ

ด้วยตัวดูดซับแตกต่างกัน ทำ�ให้สารแต่ละชนิด

เคลื่อนที่ไปบนตัวดูดซับได้ต่างกัน สารจึงแยก

ออกจากกันได้ อัตราส่วนระหว่างระยะทางที่สาร

องค์ประกอบแต่ละชนิดเคลื่อนที่ได้บนตัวดูดซับ

กับระยะทางที่ตัวทำ�ละลายเคลื่อนที่ได้ ซึ่งเป็น

ค่าเฉพาะตัวของสารแต่ละชนิดในตัวทำ�ละลาย

และตัวดูดซับหนึ่ง ๆ

ด้านทักษะ

ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

๑. ทักษะการสังเกต โดยสังเกตการเปลี่ยนแปลง

ของหยดสี ระยะทางที่สีเคลื่อนที่ และจำ�นวน

สีที่แยกได้บนกระดาษโครมาโทกราฟี และ

บันทึกสิ่งที่สังเกตได้

๒. ทักษะการวัด โดยใช้เครื่องมือวัดระยะทางที่

สีเคลื่อนที่ไปบนกระดาษโครมาโทกราฟี

๓. ทักษะการใช้จำ�นวน โดยคำ�นวณอัตราส่วน

ระหว่างระยะทางที่สารองค์ประกอบแต่ละ

ชนิดเคลื่อนที่ได้บนตัวดูดซับกับระยะทางที่

ตัวทำ�ละลายเคลื่อนที่ได้

ด้านความรู้

อธิบายหลักการแยกสารด้วยวิธโครมาโทกราฟีแบบกระดาษ

ด้านทักษะ

ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

๑. ประเมินทักษะการสังเกตจากผลการบันทึกการ

เปลี่ยนแปลงของหยดสี ระยะทางที่สีเคลื่อนที่ และ

จำ�นวนสีที่แยกได้บนกระดาษโครมาโทกราฟี ได้ครบถ้วน

ตามความเป็นจริงโดยไม่เพิ่มความคิดเห็นส่วนตัว

๒. ประเมินทักษะการวัด จากการใช้เครื่องมือ วัดระยะทาง

ที่สีเคลื่อนที่ไปบนกระดาษโครมาโทกราฟี พร้อมระบุ

หน่วยของการวัดได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม

๓. ประเมินทักษะการใช้จำ�นวน จากการคำ�นวณอัตราส่วน

ระหว่างระยะทางที่สารองค์ประกอบแต่ละชนิดเคลื่อนที่

ได้บนตัวดูดซับกับระยะทางที่ตัวละลายเคลื่อนที่ได้ และ

ระบุหน่วยได้อย่างถูกต้อง

การแยกสารด้วยวิธีโครมาโทกราฟีแบบกระดาษ

๑. ครูทบทวนการแยกสารละลายด้วยวิธีกลั่นอย่างง่ายโดยใช้คำ�ถามหรือ

สื่อต่างๆ และให้นักเรียนอภิปรายร่วมกันเกี่ยวกับปริมาณสารที่จะแยก

ด้วยวิธีกลั่นอย่างง่าย

๒. ครูกระตุ้นให้นักเรียนเกิดข้อสงสัยและตั้งคำ�ถามเกี่ยวกับวิธีการแยก

สารที่มีปริมาณน้อย ๆ เช่น น้ำ�หมึก สารสกัดจากพืช สีย้อม สีผสม

อาหาร โดยอาจใช้วิธีซักถาม หรือใช้สื่อต่าง ๆ เช่น รูปภาพ ภาพ

เคลื่อนไหว วีดิทัศน์ แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น หรือสารตัวอย่าง เพื่อนำ�

ไปสู่การปฏิบัติกิจกรรม

๓. นักเรียนปฏิบัติกิจกรรมโดยเตรียมกระดาษโครมาโทกราฟี โดย

ใช้ดินสอขีดเส้นสองเส้นห่างจากปลายกระดาษโครมาโทกราฟี

เส้นหนึ่งเป็นเส้นเริ่มต้น อีกเส้นหนึ่งเป็นเส้นสิ้นสุดของการเคลื่อนที่

ของตัวทำ�ละลาย บันทึกระยะทางตั้งแต่เส้นเริ่มต้นจนถึงเส้นสิ้นสุด

แล้วหยดสารผสมตรงกึ่งกลางกระดาษโครมาโทกราฟีตรงเส้นเริ่มต้น

แล้วนำ�กระดาษไปจุ่มในตัวทำ�ละลาย โดยให้หยดสีอยู่เหนือระดับ

ตัวทำ�ละลาย ตั้งไว้จนกระทั่งตัวทำ�ละลายแพร่ขึ้นมาจนถึงเส้นสิ้นสุด

สังเกตการเปลี่ยนแปลงของหยดสีบนกระดาษโครมาโทกราฟี บันทึก

จำ�นวนสีที่แยกได้ และระยะทางที่แต่ละสีเคลื่อนที่ได้ วิเคราะห์

สรุปผลและนำ�เสนอ

๔. ครูใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ โดยรวบรวมข้อมูลของทั้งชั้นเรียน

และใช้คำ�ถามเพื่อให้นักเรียนลงข้อสรุปหลักการแยกสารโดยวิธี

โครมาโทกราฟีแบบกระดาษ ว่าเป็นวิธีการแยกสารที่มีปริมาณน้อย

และสารแต่ละชนิดมีสมบัติการละลายในตัวทำ�ละลายและการถูก

ดูดซับด้วยตัวดูดซับแตกต่างกัน ทำ�ให้สารแต่ละชนิดเคลื่อนที่ไปบน

183

วิทยาศาสตร์

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒