Table of Contents Table of Contents
Previous Page  195 / 367 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 195 / 367 Next Page
Page Background

การวิเคราะห์ตัวชี้วัด

แนวทางการจัดการเรียนรู้

แนวทางการวัดและประเมินตัวชี้วัด

ด้านความรู้

การสกัดด้วยตัวทำ�ละลายเป็นวิธีการแยกสารที่

มีสมบัติการละลายในตัวทำ�ละลายที่ต่างกัน โดย

ชนิดของตัวทำ�ละลายมีผลต่อชนิดและปริมาณ

ของสารที่สกัดได้

ด้านทักษะ

ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

๑. ทักษะการสังเกต โดยสังเกตสีและกลิ่น

ของสารที่ได้จากการแยกสารการสกัดด้วย

ตัวทำ�ละลายที่ต่างกัน และบันทึกสิ่งที่สังเกตได้

๒. ทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล โดย

ใช้ข้อมูลจากการสังเกตสีและกลิ่นของ

สารที่ได้จากการใช้ตัวทำ�ละลายที่ต่างกัน

มาอธิบายเกี่ยวกับการแยกสารโดยการสกัด

ด้วยตัวทำ�ละลาย

๓. ทักษะการตีความหมายข้อมูลและลงข้อสรุป

โดยใช้ข้อมูลจากการสังเกตสีและกลิ่นของ

สารที่ได้จากการใช้ตัวทำ�ละลายที่ต่างกัน

เพื่อลงข้อสรุปเกี่ยวกับการแยกสารโดย

การสกัดด้วยตัวทำ�ละลาย

ด้านความรู้

อธิบายหลักการแยกสารโดยการสกัดด้วยตัวทำ�ละลาย

ด้านทักษะ

ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

๑. ประเมินทักษะการสังเกตจากผลการบันทึก

ข้อมูลเกี่ยวกับสีและกลิ่นที่ได้จากการสกัดด้วย

ตัวทำ�ละลายที่ต่างกันได้ครบถ้วน ตามความเป็นจริง

โดยไม่เพิ่มความคิดเห็นส่วนตัว

๒. ประเมินทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล จาก

การใช้ข้อมูลจากการสังเกตสีและกลิ่นของสารที่ได้

จากการใช้ตัวทำ�ละลายที่ต่างกัน มาอธิบายเกี่ยวกับ

การแยกสารโดยการสกัดด้วยตัวทำ�ละลายได้อย่าง

สมเหตุสมผล

๓. ทักษะการตีความหมายข้อมูลและลงข้อสรุปโดย

ใช้ข้อมูลจากการสังเกตสีและกลิ่นของสารที่ได้

จากการใช้ตัวทำ�ละลายที่ต่างกัน เพื่อลงข้อสรุป

เกี่ยวกับการแยกสารโดยการสกัดด้วยตัวทำ�ละลาย

ได้อย่างถูกต้อง

การแยกสารโดยการสกัดด้วยตัวทำ�ละลาย

๑. ครูทบทวนและอภิปรายโดยใช้คำ�ถามเกี่ยวกับชนิดของตัวทำ�ละลายที่มี

ผลต่อสภาพการละลายได้ของสาร

๒. ครูกระตุ้นให้นักเรียนเกิดข้อสงสัยและตั้งคำ�ถามว่าการละลายนำ�มาใช้

ประโยชน์ในการแยกสารได้หรือไม่ อย่างไร โดยอาจใช้วิธีซักถาม หรือ

ใช้สื่อต่าง ๆ เช่น รูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว วีดิทัศน์ แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น

๓. นักเรียนปฏิบัติกิจกรรม โดยสกัดสารจากพืช เช่น ขมิ้น ขิงแก่ ใบเตย

ดอกกระเจี๊ยบ ดอกอัญชัน ซึ่งใช้ตัวทำ�ละลายต่างชนิดกัน เช่น น้ำ� เอทานอล

ในการสกัดสีและกลิ่นของพืชออกจากส่วนต่าง ๆ ของพืชแต่ละชนิด

สังเกตสีและกลิ่นที่ได้จากการใช้ตัวทำ�ละลายที่ต่างกัน บันทึกผล สรุป และ

นำ�เสนอผล

๔. ครูใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ โดยรวบรวมข้อมูลของทั้งชั้นเรียนและใช้

คำ�ถามจากข้อมูล เพื่อให้นักเรียนร่วมกันอภิปรายและลงข้อสรุปหลักการ

แยกสารโดยการสกัดด้วยตัวทำ�ละลาย ว่าเป็นการแยกสารที่มีสมบัติการ

ละลายในตัวทำ�ละลายต่างกัน โดยชนิดของตัวทำ�ละลายมีผลต่อชนิดและ

ปริมาณของสารที่สกัดได้

185

วิทยาศาสตร์

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒