การวิเคราะห์ตัวชี้วัด
แนวทางการจัดการเรียนรู้
แนวทางการวัดและประเมินตัวชี้วัด
ตัวชี้วัด
๔. ออกแบบการทดลองและทดลองในการอธิบายผลของชนิดตัวละลาย ชนิดตัวทำ�ละลาย อุณหภูมิที่มีต่อสภาพละลายได้ของสาร
รวมทั้งอธิบายผลของความดันที่มีต่อสภาพละลายได้ของสารโดยใช้สารสนเทศ
ด้านความรู้
๑. สา รละลายอาจมีสถานะ เ ป็นของแข็ง
ของเหลว และแก๊ส สารละลายประกอบด้วย
ตัวทำ�ละลาย และตัวละลาย กรณีสารละลาย
เกิดจากสารที่มีสถานะเดียวกัน สารที่มี
ปริมาณมากที่สุดจัดเป็นตัวทำ�ละลาย กรณี
สารละลายเกิดจากสารที่มีสถานะต่างกัน
สารที่มีสถานะเดียวกันกับสารละลายจัดเป็น
ตัวทำ�ละลาย
๒. สารละลายที่ตัวละลายไม่สามารถละลาย
ได้อีก ในตัวทำ�ละลายปริมาณหนึ่ง ๆ ที่
อุณหภูมิหนึ่ง เรียกว่า สารละลายอิ่มตัว
สภาพละลายได้ของสารในตัวทำ�ละลาย เป็น
ค่าที่บอกปริมาณของสารเป็นกรัมที่ละลายได้
ในตัวทำ�ละลาย ๑๐๐ กรัม จนได้สารละลาย
อิ่มตัว ณ อุณหภูมิและความดันหนึ่ง ๆ
๓. สภาพละลายได้ของสารบ่งบอกความสามารถ
ในการละลายได้ของตัวละลายในตัวทำ�ละลาย
ขึ้นอยู่กับชนิดของตัวทำ�ละลายและตัวละลาย
อุณหภูมิ และความดัน สารชนิดหนึ่ง ๆ มี
สภาพละลายได้แตกต่างกันในตัวทำ�ละลาย
๑. ครูทบทวนเกี่ยวกับการละลายของสารและกระตุ้นให้นักเรียนเกิดข้อสงสัย
และตั้งคำ�ถามเกี่ยวกับองค์ประกอบของสารละลาย เพื่อนำ�ไปสู่การปฏิบัติ
กิจกรรม
๒. นักเรียนสืบค้นข้อมูลสถานะและปริมาณของสารที่เป็นองค์ประกอบ
ในสารละลายตัวอย่างที่ครูกำ�หนดให้ เช่น สารละลายเกลือ สารละลาย
น้ำ�ตาล สารละลายสีผสมอาหาร สารละลายเอทานอล น้ำ�อัดลม
ทิงเจอร์ไอโอดีน นาก ทองเหลือง ทองสำ�ริด เหล็กไร้สนิม อากาศ
แก๊สหุงต้ม แก๊สชีวภาพ บันทึกผลและนำ�เสนอผลการสืบค้นข้อมูล
๓. ครูรวบรวมข้อมูลของทั้งชั้นและใช้คำ�ถามให้นักเรียนร่วมกันอภิปราย
เกี่ยวกับชนิด สถานะ และปริมาณของสารที่เป็นองค์ประกอบใน
สารละลาย
๔. ครูอธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับเกณฑ์การระบุตัวละลาย ตัวทำ�ละลาย และ
สถานะของสารละลาย จากข้อมูลในตารางบันทึกผลการสืบค้นข้อมูล
เพื่อลงข้อสรุปว่า สารละลายประกอบด้วยตัวละลายและตัวทำ�ละลาย
กรณีสารละลายเกิดจากสารที่มีสถานะเดียวกันสารที่มีปริมาณมากที่สุด
จัดเป็นตัวทำ�ละลาย ส่วนสารละลายที่เกิดจากสารที่มีสถานะต่างกัน
สารที่มีสถานะเดียวกันกับสารละลายจัดเป็นตัวทำ�ละลาย สารละลายมี
ทั้งที่เป็นของแข็ง ของเหลว และแก๊ส
๕. ครูใช้คำ�ถามเพื่อกระตุ้นให้นักเรียนเกิดข้อสงสัยและตั้งคำ�ถามเกี่ยวกับการ
เปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น เมื่อเพิ่มตัวละลายลงในสารละลาย ณ อุณหภูมิหนึ่ง
เพื่อนำ�ไปสู่การปฏิบัติกิจกรรม
ด้านความรู้
๑. อธิบายผลของชนิดตัวละลาย ชนิดตัวทำ�ละลาย
อุณหภูมิ และความดันที่มีต่อสภาพละลายได้ของ
สาร โดยใช้ผลจากการปฏิบัติทดลองประกอบ
การอธิบาย
๒. ยกตัวอย่างการใช้ประโยชน์จากการละลายของสาร
ในชีวิตประจำ�วัน
191
วิทยาศาสตร์
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒